วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561

แปงกอง ทะเลสาบแห่งฝันและศรัทธา


...ทะเลสาบแห่งฝันและศรัทธา


เป็นสถานที่ ที่มีทัศนียภาพของสองฤดูที่มีความสวยงามที่แตกต่างกันไป อยากรู้ว่าสวยงามขนาดไหน ทำไมถึงมีมนต์เสน่ห์ทำเราตกหลุมรักได้ ลองเข้ามาอ่านกันดูได้นะจ้ะ
นี่คือทะเลสาบสีเทอร์ควอยซ์ในอ้อมกอดของหุบเขาหลายสี เมื่อมองจากเส้นทางโดดเดี่ยวเวิ้งว้างด้านบน ภาพของทะเลสาบแปงกอง (Pangong Lake) ค่อยๆเปิดเผยตัวเองทีละน้อยๆ ก่อนผืนน้ำสีฟ้าใสราวกระจกขนาดมหึมาจะปะทะกับสายตาแบบเต็มๆ ภาพนั้นงามเกินกว่าความจริง...
ทะเลสาบแปงกอง คือทะเลสาบน้ำกร่อยกลางทะเลทรายบนเทือกเขาหิมาลัย ความสูง 4,350 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล หนึ่งในสามของพื้นที่ทะเลสาบตั้งอยู่ในแคว้นลาดักห์ รัฐจัมมู-แคชเมียร์ ประเทศอินเดีย ส่วนที่เหลืออยู่ในฝั่งทิเบต นี่คือทะเลสาบชายขอบที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซุกซ่อนอยู่ภายในภูมิประเทศที่แห้งแล้งแสนกันดาร


จากช่องเขาสูงสู่ทะเลสาบสีเทอร์ควอยซ์

ฉันมาถึงเมืองเลห์ เมืองหลวงของเขตลาดักห์หลายวันแล้ว เช้านี้จึงร่วมแชร์รถไปกับเพื่อนใหม่ชาวเกาหลีอีก 6 ชีวิตสู่ทะเลสาบแห่งความฝัน Pangong Lake
9 นาฬิกาคือเวลานัดหมายออกเดินทางจากย่านจางสปาในเมืองเลห์ เรามีโปรแกรมว่าวันแรกจะไปชมธรรมชาติที่สวยงามของทะเลสาบหลากสี ค่ำนี้จะพักค้างคืนที่หมู่บ้าน Spangmik หมู่บ้านเล็กๆ ริมทะเลสาบ ถิ่นของชนเผ่ากึ่งเร่ร่อน Changpa หมู่บ้านสุดท้ายที่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวค้างแรม แล้วค่อยเดินทางกลับสู่เมืองเลห์ สายๆ ของวันถัดไป
ระยะทาง 160 กิโลเมตรจากเมืองเลห์ ณ จุดกึ่งกลางกิโลเมตรที่ 83 ต้องผ่านช่องเขาสูงชัง-ลา (Chang la) บนความสูง 5,360 เมตรจากระดับน้ำทะเล ช่องเขานี้ถูกอ้างว่าเป็นช่องเขาสูงอันดับ 3 ของโลก นั่นหมายถึงบรรยากาศออกซิเจนเบาบาง แต่วันนั้นดูเหมือนว่า “ชิลล์ๆ” นับตั้งแต่การผจญภัยบน คาร์ดุง-ลา(Khardung -La) บนความสูง 5,606 เมตรผ่านพ้นมาได้ เพราะร่างกายปรับสภาพกับบรรยากาศบนพื้นที่สูงเรียบร้อยแล้ว
แต่ความหนาวเย็นดูจะเป็นภาระหนักกว่า เมื่อรถจอดลง ณ ช่องเขาสูงน้ำแข็งบริเวณนั้นยังละลายไม่หมด ไอเย็นส่งผ่านบรรยากาศมาสัมผัสร่างกาย ยามนั้นทั้งหนาวสะท้านและสดชื่น แต่หากใครเกิดอาการแพ้ความสูงเฉียบพลันขึ้นมา ที่นี่มีการเตรียมพร้อมทั้งอุปกรณ์ปฐมพยาบาล และยาที่จำเป็น แถมยังมีโรงน้ำชาเล็กๆ เสริฟ์ชาร้อนๆ ฟรีให้กับนักท่องเที่ยวผู้ผ่านทาง เป็นบริการของกองทัพอินเดียเพราะถนนสายนี้เป็นเส้นทางไปสู่ชายแดนจีน
หลังจากที่รัฐบาลอินเดียตัดสินใจเปิดให้กับนักท่องเที่ยว จากนั้นจึงมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกบนเส้นทางโดยอยู่ภายใต้การดูแลของกองทัพอินเดีย เส้นทางสายนี้จึงเปิดตลอดทั้งปี แต่ในฤดูหนาวการเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบากจึงมีนักท่องเที่ยวบางตากว่าฤดูร้อนในแต่ละปี
บนช่องเขาแห่งนี้มีวัดเล็กๆ โบราณที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเกียรติแก่ Baba Changla สาธุหรือนักบวชฮินดู ว่ากันว่านี่คือที่มาของชื่อช่องเขาชัง-ลา ประตูไปสู่ที่ราบสูง Changthang ในเทือกเขาหิมาลัย ถิ่นของชนเผ่ากึ่งเร่ร่อน Changpa ซึ่งพบในทิเบต และหุบเขาในแถบลาดักห์ โดยเฉพาะภูมิภาค Zanskar ในแคว้นเดียวกัน คือจัมมูและแคชเมียร์
เมื่อรถขับลงจากช่องเขาชัง-ลา สักพักจะผ่านหมู่บ้านเล็กๆ ตามรายทาง บริเวณนี้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่เกิดจากลำธารใสที่ละลายมาจากหิมะบนเขาสูง สภาพแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทุ่งดอกไม้นานาพันธุ์อาบคลุมอยู่ทั่วผืนดิน สักพักรถวิ่งผ่านทุ่งหญ้าขนาดใหญ่เห็นฝูงม้า ฝูงแพะและฝูงแกะ กำลังยืนเล็มหญ้าอย่างอิสระและเบิกบาน
จนกระทั่งมาถึงหมู่บ้านตังเซ่ (Tangste) จุดตรวจหนังสือเดินทางและเอกสารการขออนุญาตเข้าพื้นที่ชายแดนก่อนเดินทางสู่ทะเลสาบสีฟ้า หลังจากนั้นภูมิประเทศเปลี่ยนจากทุ่งหญ้ากว้างเป็นหุบเขาสีน้ำตาลเวิ้งว้าง แห้งแล้งภายใต้ท้องฟ้าสีคราม เกินกว่าจะจินตนาการได้ว่าจะมีทะเลสาบแสนสวยตั้งอยู่
เมื่อรถวิ่งผ่านเส้นทางหิน-กรวดขรุขระ เต็มไปด้วยน้ำที่ละลายมาจากหิมะสู่ลำธารจนเอ่อล้นมาทับเส้นทาง บรรยากาศตอนนั้นเต็มไปด้วยความตื่นเต้น คอยลุ้นอยู่ว่าเราจะรอดมั๊ย? ต้องปรบมือให้กับโชเฟอร์ผู้ช่ำชองที่ประคองชีวิตของพวกเราจนภาพแห่งความฝันได้ปรากฏขึ้นเป็นจริง
เกือบ 6 ชั่วโมงกับการเดินทาง วันนั้นทุกอย่างเป็นใจ แดดสวย อากาศใส ท้องฟ้าสีคราม ลมเย็นพัดผ่าน ทุกคนกระโดดลงจากรถอย่างไม่รีรอ...เพื่อชื่นชมมหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ ถ้ามีดวงตามองลงมาจากเบื้องบน ทะเลสาบแห่งนี้ก็เปรียบเสมือนดวงตาที่มองไปยังฟากฟ้าเช่นกัน



แปงกอง ทะเลสาบบน Trans-Himalayan

แปงกอง คือทะเลสาบในหุบเขาของพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนของแม่น้ำสินธุ ถือเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุดของระบบนิเวศทะเลทราย Trans-Himalayan ทะเลสาบแห่งนี้ถูกแบ่งเป็นสองส่วนระหว่างลาดักห์และทิเบต ภายใต้สนธิสัญญาที่ลงนามระหว่าง Tingmosgang กษัตริย์แห่งลาดักห์ และ Deldan Namgyal ผู้สำเร็จราชการแห่งทิเบต เมื่อปี 1684 ณ วันนี้จึงถูกใช้ร่วมกันโดยจีนและอินเดีย
ผืนน้ำกว้างใหญ่ที่มองเห็นนี้มีขนาด 700 ตารางกิโลเมตร มีความยาว 130 กิโลเมตร กว้าง 6-7 กิโลเมตร 30 เปอร์เซ็นต์ของทะเลสาบอยู่ในเขตลาดักห์ อีก 70 เปอร์เซ็นต์ต่อเนื่องสู่ที่ราบสูงทิเบต-ชิงไห่ ประเทศจีน
เนื่องจากตั้งอยู่ในภูมิภาคที่มีอากาศค่อนข้างรุนแรง อุณหภูมิของน้ำในทะเลสาบจึงแตกต่างกันอย่างมากตลอดทั้งปี ในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิผิวน้ำ 19 องศาเซลเซียส ส่วนด้านล่าง 8 องศาเซลเซียส ฉันทดสอบด้วยการเอามือจุ่มลงไป เย็นเฉียบ...จนดึงกลับแทบไม่ทัน ส่วนฤดูหนาวปลายเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนเมษายน ทะเลสาบแห่งนี้จะกลายเป็นน้ำแข็ง
แปงกอง ได้ชื่อว่าเป็นทะเลสาบหลากสี โดยมีอิทธิพลมาจากลำแสงของดวงอาทิตย์ที่ตกสะท้อนสู่ยอดเขาสูง-ต่ำด้านหลังที่เปรียบเสมือนปราการที่โอบล้อมทะเลสาบไว้ ส่งผลให้สีของน้ำในทะเลสาบล้อเล่นไปกับแสงของดวงตะวัน จากยามเช้าที่บางเบาใสในแบบคริสตัล สู่เขียวเทอร์ควอยซ์ ฟ้า และน้ำเงินเข้มในเวลาเย็นย่ำ ที่นี่ยังเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นทะเลสาบแห่งความสงบ ใสสะอาด และไม่มีที่สิ้นสุด เพราะเธอหายเข้าไปในดินแดนทิเบต
คนลาดักห์เรียกที่นี่ว่า Pangong Tso มาจากภาษาทิเบต หมายถึง “ผืนน้ำที่อยู่บนพื้นที่สูง” หนุ่มลาดักห์เจ้าของบริษัททัวร์ในย่านจางสปา เล่าให้ฟังว่า คนลาดักห์ให้ความเคารพนับถือทะเลสาบแปงกองมาก เป็นความเคารพในธรรมชาติที่มีอยู่ในจิตใจของชาวลาดักห์
“แม้แปงกองจะตั้งอยู่ในแผ่นดินที่แห้งแล้ง กันดาร แต่น้ำในทะเลสาบจะไม่มีการนำมาใช้ หรือไม่อนุญาตให้ลงไปว่ายและนำเรือลงไป และไม่มีสิ่งปลูกสร้างถาวรมากมายเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว จะมีก็เพียงเต๊นท์อาหาร และแคมป์พักแรม ซึ่งจะถูกรื้อเมื่อฤดูร้อนผ่านไป ทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อต้องการรักษาความใส สะอาด และความสงบของทะเลสาบไว้”
วันนั้นขณะที่เดินชื่นชมความงามของแปงกอง ฉันเห็นสัญลักษณ์หนึ่งซึ่งสะท้อนถึงศรัทธาของคนลาดักห์ตั้งอยู่ที่แนวชายหาด ภาพของกองหินที่ตั้งวางเป็นชั้นๆ พร้อมธงมนตร์ปักอยู่ด้านบน แม้สิ่งนี้จะเรี่ยติดพื้นแต่สร้างขึ้นจากความเคารพ ยังไม่ทันละสายตาจากกองหิน เพื่อนร่วมทางบางคนกระโดดขึ้นไปเหยียบด้านบน โพสต์ท่าเตะธงมนตร์เพื่อถ่ายรูป...ภาพนั้นยังติดตา
ฉันเองไม่ใช่ชาวพุทธ แต่ก็สลดใจกับภาพที่เห็น... เพราะการเคารพในศรัทธาที่แตกต่างก็คือการเคารพในเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมิใช่หรือ สำหรับคนลาดักห์แปงกองมีความหมายมากกว่าความงาม ที่นี่คือทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์

ชนเผ่าเร่ร่อนกับแพะ Pashmina




จากจุดชมวิวของทะเลสาบแปงกองไปทางใต้ 7 กิโลเมตรคือที่ตั้งของหมู่บ้าน Spangmik หมู่บ้านสุดท้ายชายแดนของประเทศอินเดีย นักท่องเที่ยวต่างชาติจะได้รับอนุญาตให้พักค้างแรมได้ ฉันเลือกนอนเต๊นท์พักแรมแทนกระท่อมก่ออิฐดินหลังเล็กๆ 2-3 หลังที่เปิดต้อนรับแขกต่างแดน
หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บนแนวแคบๆ ของชายหาดที่ปกคลุมด้วยหินกรวดขรุขระ บริเวณนี้ตั้งอยู่ระหว่างภูเขาและทะเลสาบ เป็นบ้านของชนเผ่ากึ่งเร่ร่อน Changpa ที่มีอยู่เพียงไม่กี่ครอบครัวอาศัยอยู่ในกระท่อมก่ออิฐดิน ตั้งอย่างกระจัดกระจาย พวกเขาดำรงชีวิตด้วยการเลี้ยงแพะ Pashmina ปลูกข้าวบาร์เลย์และถั่วในช่วงฤดูร้อนสั้นๆ
ส่วนเต๊นท์พักแรมนั้นเป็นของชาวลาดักห์จากหมู่บ้านอื่นที่อยู่ไกลออกไป พวกเขาจ่ายเงินค่าเช่าพื้นที่ให้กับทางการ เพื่อมาประกอบธุรกิจที่พักและร้านอาหารในบริเวณนี้เฉพาะในช่วงหน้าร้อน ฤดูกาลท่องเที่ยว
เวลานี้ฉันอยู่ท่ามกลางความสงบเงียบของ Spangmik เพราะน้อยคนนักจะพักค้างแรม ส่วนใหญ่มักจะเดินทางไป-กลับภายในวันเดียว มุมงามๆ ของ Spangmik จึงไม่ถูกรบกวน แต่การนอนเต๊นท์ทำให้ต้องเผชิญกับความหนาวสะท้านจากลมทะเลสาบที่โหมกระหน่ำเข้ามา ชาอุ่นๆ ช่วยคลายหนาวได้ดี
แม้จะอยู่ใกล้ทะเลสาบแค่เอื้อม แต่น้ำที่นี่ขาดแคลนเพราะชาวบ้านต้องบรรทุกน้ำมาจากภายนอก น้ำในทะเลสาบห้ามแตะต้อง คืนนั้นจึงไม่มีใครอาบน้ำ เพราะเรามีน้ำไว้ใช้เท่าที่จำเป็นสำหรับปลดหนัก ปลดเบาเท่านั้น
คืนนี้มีอาหารเย็นง่ายๆ ที่เจ้าของเต๊นท์พักแรมเป็นแม่ครัวด้วยตัวเอง อย่าง จาปาตี ดาล (แกงถั่ว) และโมโม่ เสริฟ์พร้อมชาและกาแฟ ส่วนมื้อเช้าอิ่มท้องด้วยไข่เจียว และจาปาตีทาแยม สำหรับฉันแค่นี้ก็อยู่รอดแล้ว แต่...
บางคนอาจเรียกร้องโน่น...นี่...นั่น อย่างเช่น ผักสดๆ โปรดลืมไปได้เลย เพราะพื้นที่นี้แค่ข้าวบาเล่ย์และถั่วที่ชาว Changpa ปลูกในฤดูร้อนยังให้ผลผลิตไม่ดีเลย เพราะภูมิประเทศแห้งแล้ง อากาศหนาวจัด ผักสดๆ จึงไม่งอกงาม ส่วนการเดินทางไม่สะดวกพอจะไปสรรหาผักสดมาให้นักท่องเที่ยวได้ทุกวัน ฉันทำได้แค่ปลอบใจเพื่อนร่วมทาง เธออัธยาศัยน่ารัก แต่...
เช้าวันใหม่แสงแดดอุ่นๆ มาทักทายให้คลายหนาว วิวของธารน้ำแข็งสีขาวบนยอดเขาหิมะทางทิศเหนือโดดเด่นสง่างามท่ามกลางท้องฟ้าและทะเลสาบสีครามแสนสงบ เรียกร้องให้บันทึกภาพแบบลืมเวลา
ก่อนจะแวะเยี่ยมเยียนกระท่อมของชาว Changpa ครอบครัวของพวกเขาเป็นเจ้าของแพะ Pashmina ที่ดึงดูดพ่อค้ามาจากทั่วทุกพื้นที่ทางภาคเหนือของอินเดีย เพื่อซื้อขนแพะ Pashmia ส่งไปยังเขตแคชเมียร์และรัฐหิมาจัลประเทศ วัตถุดิบนี้เป็นที่รู้จักกันดีเมื่อถักทอเป็นผ้าคลุมไหล่ขนสัตว์คุณภาพดี ราคาแพง ผ้า Pashmina นั่นเอง
ในเวลากลางวันพวกเขาจะต้อนแพะไปเลี้ยงในทุ่งหญ้า ส่วนในช่วงค่ำคืนแพะเหล่านี้จะถูกขังไว้ในคอกหินเรียงต่อกันเป็นชั้นๆ ใกล้กับกระท่อมของแต่ละครอบครัว ส่วนในฤดูหนาวพวกเขาจะโยกย้ายถิ่นไปในดินแดนที่อุ่นกว่าในแถบลาดักห์ นี่เป็นเพียงเศษเสี้ยวของวิถีชีวิตทั้งหมดของชาว Changpa ที่ฉันได้สัมผัส...
ก่อนเดินทางกลับสู่เมืองเลห์ อยากฝากผู้ผ่านทางทั้งหลายว่า แปงกอง คือความงามในความยากไร้ แห้งแล้ง และขาดแคลน ภายใต้ข้อจำกัดของพื้นที่การเรียกร้องเกินควรของนักท่องเที่ยวอาจต้องใคร่ครวญ เคยมีคนตั้งนิยามของคนเดินทางไว้หลากหลาย แต่...
ไม่ว่าเราจะเรียกตัวเองว่า “นักท่องเที่ยว” หรือ “นักเดินทาง” ไม่สำคัญไปกว่าความเคารพในแผ่นดิน ผู้คน ธรรมชาติ วัฒนธรรม และศรัทธาของท้องถิ่นที่เราเหยียบย่างเข้าไป สิ่งนี้ต่างหากคือเป้าหมายปลายทาง

****










วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561

โมทกะ หรือโมทัก

หรือ ทั

เป็นลูกกลม ๆ ขนาดมะนาวลูกเล็ก ๆ ทำเป็นลูกมียอดแหลมคล้ายกระเทียม มีไส้ ภายนอกเป็นแป้งสีขาวห่อไส้แล้วนึ่งให้สุก ไส้ทำด้วยมะพร้าวผัดกับน้ำมันพืช ผสมเนยใส ผงกระวาน น้ำตาลทรายแดง และเกลือ รสค่อนข้างหวาน
ภาษาฮินดี: Chawal 
เรามีกี่ครั้งที่คิดว่าข้าวเป็นพระพรหรือไม่? เราใช้มันเพื่อวัตถุประสงค์ศักดิ์สิทธิ์ แต่เรายังสามารถดันขึ้นอย่างรวดเร็ว pulao หรือ khichdi เมื่อความหิว pangs จะกลองไป! นี่คือเมล็ดพืชที่ย่อยได้ถึง 98% เปอร์เซ็นต์ ในอินเดียเราคุ้นเคยกับ Basmati, Patna หรือข้าวกล้อง แต่ก็ยังมีเป็นข้าวอิตาเลียนและข้าวเหนียวที่เป็นที่นิยมในอาหารจีนและญี่ปุ่น

ส่วนผสมสำหรับสูตร Ukdiche Modak

  • แป้งข้าวเจ้า 1 1/2 ถ้วย
  • เกลือ หยิก
  • น้ำมัน 1 ช้อนชาสำหรับจาระบี
  • สำหรับการบรรจุ
  • มะพร้าวสดขูด 1 1/2 ถ้วย
  • Jaggery (gur) ขูด 1 ถ้วย
  • เมล็ดงาดำ (khuskhus / posto) คั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
  • ผงกระวานสีเขียว หยิก
  • ลูกจันทน์เทศผง หยิก

วิธีทำ

ขั้นตอนที่ 1

อุ่นหนึ่งในสี่ถ้วยน้ำด้วยเกลือและน้ำมันหนึ่งช้อนชาในกระทะที่ไม่ติดลึก

ขั้นตอนที่ 2

นำไปต้มลดความร้อนและเพิ่มแป้งข้าวเจ้าในการไหลคงที่กวนอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันก้อนจากการขึ้นรูป ปิดฝาครอบด้วยฝาลึกและเทน้ำเข้าฝา ปรุงอาหารด้วยความร้อนต่ำเป็นเวลา 3 นาที

ขั้นตอนที่ 3

ถอดฝาปิดแล้วราดน้ำเย็นลงบนแป้งข้าวเจ้าและปิดฝาอีกครั้งด้วยฝาปิดต้มให้เดือดลดความร้อนและเพิ่มแป้งข้าวเจ้าให้ไหลตลอดเวลากวนอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อป้องกันไม่ให้ก้อนคั้นจากน้ำขึ้น ปรุงอีกสามนาที ทำซ้ำขั้นตอนนี้อีกสองครั้ง ใช้กระทะปิดความร้อนและเก็บไว้เป็นเวลาสองนาที

ขั้นตอนที่ 4

นำส่วนผสมมาผสมกับจานขนาดใหญ่ (parat) ทาน้ำมันด้วยน้ำมันและนวดแป้งจนนุ่มและยืดหยุ่น แป้งไม่ควรติดกับฝ่ามือของคุณ พักแป้งที่คลุมด้วยผ้าชุบน้ำหมาด ๆ

ขั้นตอนที่ 5

สำหรับการบรรจุรวมมะพร้าวและแฉะในกระทะที่ไม่ติดและปรุงอาหารด้วยความร้อนปานกลางหนึ่งหรือสองนาทีจนแสงสีทองสีน้ำตาล ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้ต้มมากเกินไป เพิ่มเมล็ดงาดำคั่ว, ผงกระวานและผงลูกจันทน์เทศ,

ขั้นตอนที่ 6

แบ่งแป้งออกเป็นสิบสองส่วนเท่า ๆ กันและจัดรูปทรงให้เป็นลูก จาระบีฝ่ามือของคุณและกระจายแต่ละลูกเพื่อสร้างชามขนาด 3 นิ้ว กดขอบของชามเพื่อลดความหนา

ขั้นตอนที่ 7

วางส่วนของการบรรจุในศูนย์; จีบขอบของแป้งและรวบรวมไว้ด้วยกันเพื่อจัดเป็นกลุ่ม หยิกเพื่อปิดขอบที่ด้านบน

ขั้นตอนที่ 8

อุ่นนํ้าที่เพียงพอในหวด ใส่ modak ลงบนแผ่นที่เจาะรูในหวดและอบไอน้ำเป็นเวลา 10 ถึง 12 นาที

ขั้นตอนที่ 9

เสิร์ฟหม้อไฟร้อนกับเนยใสบริสุทธิ์

ข้อมูลโภชนาการ

แคลอรี่: 1989  Kcal
คาร์โบไฮเดรต: 304.6  กรัม
โปรตีน: 23.2  กรัม
ไขมัน: 75.2  กรัม
อื่น ๆ : 0

****







video





ที่มา https://www.sanjeevkapoor.com/recipe/Ukdiche-Modak-Mithai.html
ที่มา https://vaya.in/recipes/wp-content/uploads/2018/02/Modak.jpg
ที่มา https://recipes.timesofindia.com/photo/57551995.cms?imgsize=209020
ที่มา https://i1.wp.com/media.hungryforever.com/wp-content/uploads/2015/06/29134521/modak-hf.jpg?ssl=1?w=356&strip=all&quality=80
ที่มา http://d3j4nopn8wm92b.cloudfront.net/sites/default/files/styles/recipe_main/public/IMG-20161013-WA0005.jpg?itok=vFL-RN9l

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561

ถั่วลิสง Chikki

ถั่ลิ

chikki

ถั่วลิสง Chikki เป็นถั่วลิสงเปราะของอินเดีย มันทำด้วยถั่วลิสงพรึบและไม่มีอะไรจริงๆจริงๆ เป็นวัตถุดิบในบ้านของชาวอินเดียที่อยู่ในช่วงฤดูหนาว คลูมากกก
chikkiเป็นแบบดั้งเดิมอินเดียหวาน ( เปราะ ) ทำโดยทั่วไปจากถั่วลิสงและน้ำตาลโตนด [1]มีหลายสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน chikki นอกเหนือไปจากถั่วลิสงที่พบมากที่สุด (ถั่วลิสง) chikki ความหลากหลายของ chikki มีชื่อขึ้นอยู่กับส่วนผสมที่ใช้ซึ่งรวมถึงเบงกอลพัฟหรือย่างงาข้าวพองข้าวตีหรือโคบะ ( มะพร้าวผึ่งให้แห้ง )

Indian Spices.jpg
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุด
อาหารอินเดีย
อาหารประจำภูมิภาค[show]
ส่วนผสมประเภทอาหาร[โชว์]
การเตรียมอาหาร[show]
ดูเพิ่มเติม[show]
อาหารที่เกี่ยวข้อง[แสดง]
Flag of India.svg พอร์ทัลอินเดีย Foodlogo2.svg พอร์ทัลอาหาร
โวลต์เสื้ออี
ในภูมิภาคของภาคเหนือของอินเดียโดยเฉพาะอย่างยิ่งพิหารและอุตตรหวานนี้เรียกว่าLayiya แพตตี้ ในฮ์และภูมิภาคสินธุของอินเดียจะเรียกว่าLayeeหรือแครายและในบังคลาเทศก็เป็นที่รู้จักกันgur badam อาหารที่คล้ายกันยังเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศบราซิลซึ่งเป็นที่รู้จักกันเป็นPE-de-molequeและในปารากวัยซึ่งจะมีการเรียกKa'í Ladrillo

ส่วนผสม

บาง chikkis ทำโดยใช้ส่วนผสมเหล่านี้ chikkis พิเศษที่ทำจากเม็ดมะม่วงหิมพานต์ , อัลมอนด์และpistachios แม้ว่าน้ำตาลเป็นสารให้ความหวานปกติน้ำตาลจะใช้เป็นฐานในบางประเภท chikkis เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในชนบทและในเอเชียใต้ (ครอบคลุมอินเดียปากีสถานบังคลาเทศเนปาลและศรีลังกา) บางคนยังเพิ่มกลูโคสกับ chikkis ซึ่งปกติจะมีอยู่ มันเพิ่งเริ่มต้นจากรสชาติเดียวของ jaggery และถั่วลิสง แต่วันนี้มีหลายรสชาติที่แปลกใหม่ที่มีอยู่ในตลาด
ในรัฐทมิฬนาฑูทางตอนใต้ของอินเดียการเตรียมอาหารนั้นมีสัดส่วนของถั่วที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นและส่วนผสมจะกลายเป็นลูกมากกว่าแผ่น รุ่นที่พบมากที่สุดคือ kadalai urundai (ลูกถั่วลิสง), ellu urundai (งาลูก) และ pori urundai (ลูกข้าวพอง) ในเกรละจะทำทั้งแผ่นและแบบลูก ถั่วลิสงตามหวานจะเรียกว่าเป็นkadala Mithaiหรือkappalandi Mithaiหรือในบางสถานที่abhayaarthi คาตะ และงาตามหวานจะเรียกว่าเป็นellunda

การเตรียมการ

การเตรียม chikkis ประกอบด้วยขั้นตอนแรกเตรียมน้ำเชื่อมร้อนๆต่ำ ๆ และเติมน้ำนมลงในน้ำเชื่อมแล้วนำถั่วไปทำเป็นแม่พิมพ์ไม้จากนั้นรีดให้มีความหนาประมาณ 6 -8 มม. โดยใช้ลูกกลิ้งไม้จากนั้นวางลงในแผ่นเหล็กเพื่อระบายความร้อนตัดเป็นแผ่นและบรรจุ ในบ้านปริมาณที่น้อยกว่าเป็นมือที่รีดด้วยลูกกลิ้งไม้
chikkis นิยมมีที่มาจากเมืองอินเดียLonavala , Matheran , Mahabaleshwar , Panchgani Karjatในมหาราษฎและบุจในรัฐคุชราต









video




ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Chikki
ที่มา https://www.cookwithmanali.com/wp-content/uploads/2018/01/Indian-Peanut-Chikki.jpg
ที่มา  https://www.cookwithmanali.com/wp-content/uploads/2018/01/Peanut-Chikki-Recipe-Step-3.jpg
ที่มา https://www.cookwithmanali.com/wp-content/uploads/2018/01/Peanut-Chikki-Recipe-Step-2.jpg
ที่มา https://www.cookwithmanali.com/wp-content/uploads/2018/01/Peanut-Chikki-Recipe-Step-1.jpg
ที่มา https://www.vegrecipesofindia.com/wp-content/uploads/2017/01/peanut-chikki-recipe01.jpg
ที่มา https://i.ndtvimg.com/i/2018-01/peanut-chikki_620x350_51515669836.jpg?downsize=650:400&output-quality=70&output-format=webp
ที่มา https://i.ndtvimg.com/i/2018-01/til-laddoo_620x330_81515655730.jpg?downsize=650:400&output-quality=70&output-format=webp
ที่มา https://gopopcorn.files.wordpress.com/2015/06/honey-groundnut-chikki-500gm-from-lonavala-17623334-46134632-e2b2-4f4f-ad90-0d62fcec3032-jpg.jpg
ที่มา https://www.vegrecipesofindia.com/wp-content/uploads/2017/01/peanut-chikki-recipe26.jpg

ลาสซี่มะม่วง

ซี่ม่ 

ลาสซี่มะม่วง (Mango Lassi) เครื่องดื่มโยเกิร์ตปั่นรสมะม่วงสไตล์อินเดีย อีกหนึ่งทางเลือกดี ๆ สำหรับหน้าร้อนนี้ที่ไม่ควรพลาด😋😋
เกิดมาต้องลองสักครั้งกับเครื่องดื่มลาสซี่มะม่วง สูตรจาก คุณ RinS CookBook จับโยเกิร์ตผสมกับเนื้อมะม่วงสุก และซอสมะม่วง ลองทำดื่มดับร้อนกันเถอะ


ส่วนผสม 

ลาสซี่มะม่วง

  • โยเกิร์ตรสธรรมชาติ 5 ออนซ์
  • เนื้อมะม่วงสุก 4 ออนซ์
  • ซอสมะม่วงเข้มข้น (ในสูตรนี้ใช้ Kesar Mango Pulp แบบกระป๋องจากประเทศอินเดีย) 
  • นมสด 1/4 ถ้วย (หรือฮาฟแอนด์ฮาฟครีม)
  • น้ำแข็ง 1 ถ้วย
  • น้ำเชื่อม 1 ออนซ์ (หรือน้ำตาลทราย 2-3 ช้อนโต๊ะ) 
     หมายเหตุ : ซอสมะม่วงเข้มข้นชนิดกระป๋อง หรือ Kesar Mango Pulp สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายวัตถุดิบอินเดีย หรือถ้าซื้อไม่ได้จริง ๆ ให้ใช้เนื้อมะม่วงสุกจัด ๆ มาใช้แทนได้


วิธีทำลาสซี่มะม่วง

  1. ใส่ส่วนผสมทั้งหมดลงในเครื่องปั่น ปิดฝาแล้วปั่นจนส่วนผสมทั้งหมดเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน (เวลาในการปั่นขึ้นอยู่กับเครื่องปั่นแต่ละเครื่อง)
  2. ตกแต่งแก้ว โดยเทซอสมะม่วงลงในไปในแก้วก่อนแล้วเอียงแก้วไปมาให้สวยงามตามชอบ จากนั้นเทลาสซี่ที่ปั่นไว้ลงไป ราดทับด้วยซอสมะม่วงอีกครั้ง แต่งด้วยใบสะระแหน่ พร้อมเสิร์ฟ (หรือจะโรยถั่วพิสตาชิโอลงไปก็ได้ตามชอบ)
****




video






ที่มา https://cooking.kapook.com/view193207.html
ที่มา https://img.kapook.com/u/2015/surauch/Cook/lassi-1.jpg

คูลฟี่ (Kulfi)

คูลฟี่

(Kulfi)

รับลมร้อนด้วยไอศกรีมในอินเดีย

หวานเย็นด้วยนมกับเครื่องเทศ รสชาด หวาน  มัน ไม่มากนัก มีหลายรส ที่อร่อยมากคือรสมะม่วงและพิสตาชิโอ
ช่วงนี้อินเดียเข้าสู่ฤดูร้อนแล้วครับ โดยดีกรีของความร้อนก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ของประเทศด้วยความที่เป็นประเทศที่มีพื้นใหญ่

โดยทางตอนเหนือของประเทศอย่างกรุงนิวเดลีที่อยู่ใกล้กับทะเลทรายธาร์ก็จะร้อนแห้งค่อนข้างรุนแรงเลยทีเดียว ในขณะที่ทางใต้อย่างเมืองมุมไบก็จะค่อยยังชั่วกว่าเพราะได้รับอิทธิพลจากลมทะเลที่พัดเข้ามาจากทะเลอาระเบียทำให้อากาศที่มุมไบไม่ได้ร้อนมากอย่างที่คิด แต่สำหรับคนอินเดียแล้วก็ถือว่าร้อนละครับ และวิธีคลายร้อนยอดนิยมวิธีหนึ่งของคนอินเดียก็คือ การรับประทานไอศกรีมนั่นเอง

ไอศกรีมไม่ใช่ของใหม่สำหรับคนอินเดีย เนื่องจากอินเดียมีไอศกรีมที่ทำจากนมสดที่เรียกว่า “กูลฟี่” (Kulfi) เป็นของหวานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โมกุลปกครองอินเดียในช่วงศตวรรษที่ 16-18 แล้ว และยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน โดยคนอินเดียยังคงเรียกขนมหวานชนิดนี้ว่ากูลฟี่อยู่เหมือนเดิม ถ้ายังนึกหน้าตาไม่ออกก็ลองย้อนคิดไปถึง “หวานเย็น” ของไทยที่เป็นแท่งกลมๆ เสียบด้วยไม้นั่นแหละครับ เพียงแต่ว่ากูลฟี่จะทำด้วยนมสดที่เคี่ยวจนข้นและมันผสมน้ำตาล โดยเพิ่มรสชาติและกลิ่นต่างๆ เข้าไปด้วย เช่น เครื่องเทศ กุหลาบ มะม่วง เป็นต้น แต่กูลฟี่นี่มีทั้งแบบที่เสียบไม้อย่างหวานเย็นบ้านเราและที่เสิร์ฟมาในจานของหวานเป็นจานปิดท้ายมื้ออาหารโดยเฉพาะอาหารค่ำ

ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่าตั้งหลายร้อยปีที่แล้วอินเดียเอาน้ำแข็งที่ไหนมาทำไอศกรีม อันนี้น่าสนใจครับ ซึ่งจากการค้นคว้าก็พบว่ามีหลักฐานบันทึกว่าในสมัยราชวงศ์โมกุลภายใต้การปกครองของกษัตริย์อักบาร์มหาราชผู้ยิ่งใหญ่ของอินเดียในยุคนั้นได้มีการนำน้ำแข็งจากเทือกเขาหิมาลัยมาผสมกับเกลือแล้วนำไปปั่นไอศกรีมหรือกูลฟี่นี่แหละครับ กูลฟี่ในสมัยนั้นจึงเป็นขนมหวานชาววังขนานแท้คือ มีเสิร์ฟเฉพาะแต่ในรั้วในวังเท่านั้น เพราะลำพังชาวบ้านธรรมดาคงไม่มีปัญญาไปขนน้ำแข็งจากเทือกเขาหิมาลัยมาทำกูลฟี่ได้ ก็เป็นอันว่าอินเดียรู้จักน้ำแข็งก่อนเรานานเลยนะครับ

ทุกวันนี้กูลฟี่ก็ยังมีขายอยู่ทั่วไปในอินเดีย โดยมีทั้งที่เสิร์ฟมาในจานของหวานในร้านอาหารหรือภัตตาคารและที่เสียบไม้แบบหวานเย็นบ้านเราโดยคนขายกูลฟี่ที่เรียกว่า “Kulfiwalas” จะสะพายกระติกน้ำแข็งทรงยาวๆ เดินขายหวานเย็นเสียบไม้แบบอินเดียไปตามถนน ปากก็ตะโกนขายไปเรื่อยๆ ว่า “กูลฟี่ๆ” น่าสนใจทีเดียว แต่ยังไม่กล้าชิมด้วยเหตุผลทางด้านสุขอนามัย แต่ถ้าเป็นตามภัตตาคารละก็ไม่พลาดแน่นอน

ปัจจุบันคนอินเดียบริโภคทั้งกูลฟี่และไอศกรีมแบบทดแทนกันได้เลยคือ ถ้าไม่มีกูลฟี่ก็สามารถเปลี่ยนเป็นไอศกรีมได้ และแนวโน้มจะหนักไปทางไอศกรีมด้วยซ้ำเนื่องจากหาซื้อได้ง่ายกว่า ถูกสุขอนามัย หีบห่อสวยงาม มีแบรนด์ และที่สำคัญคือ คนอินเดียมีความรู้สึกว่าไอศกรีมเป็นสินค้าที่คุณภาพดีกว่าและทันสมัยกว่า ซึ่งอันนี้ก็น่าจะเป็นผลมาจากแคมเปญการตลาดและการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ของบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายไอศกรีมที่นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และด้วยความที่คนอินเดียคุ้นเคยกับกูลฟี่มานานแล้ว การที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคอินเดียจากที่เคยบริโภคกูลฟี่มาเป็นไอศกรีมแทนจึงไม่ใช่เรื่องยากและไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจแต่ประการใด เนื่องจากสินค้าทั้งสองชนิดนี้แทบจะเป็นสินค้าชนิดเดียวกันอยู่แล้ว เพียงแต่ว่ากูลฟี่จะมีความเข้มข้น หวานมัน และอุดมไปด้วยไขมันจากนมสดมากกว่าเท่านั้นเอง

ตลาดไอศกรีมในอินเดียในปี 2557 ที่ผ่านมาจึงมีมูลค่าสูงถึง 4.2 หมื่นล้านรูปีหรือประมาณ 2.1 หมื่นล้านบาท ด้วยอัตราการขยายตัวถึง 15% แต่ถ้ามองในแง่ปริมาณ ยอดขายไอศกรีมในอินเดียในปี 2557 มีปริมาณ 229 ล้านลิตร ด้วยอัตราการขยายตัว 9% ซึ่งถือว่ามีแนวโน้มดีทีเดียว อันนี้ก็เป็นผลมาจากปัจจัยที่ผมเรียกว่าเป็นปัจจัยมาตรฐานคือ คนอินเดียมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น มีการขยายตัวของเมืองมากขึ้น ประชาชนเข้าถึงสื่อต่างๆ มากขึ้น มีการศึกษาดีขึ้น และมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดีขึ้นโดยเฉพาะถนนหนทางที่มีการเชื่อมโยงมากขึ้นและไฟฟ้าที่เข้าถึงพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น ซึ่งปัจจัยหลังนี้ส่งผลอย่างมากต่อการขยายตัวของตลาดไอศกรีมในอินเดียเนื่องจากการกระจายสินค้าทำได้กว้างขวางขึ้นและรวดเร็วขึ้น รวมทั้งส่งผลให้ร้านค้าต่างๆ มีตู้เย็นหรือตู้แช่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อยอดขายไอศกรีมไปโดยปริยาย

ที่น่าประหลาดใจก็คือ จากการศึกษาของ Euromonitor International พบว่าไอศกรีมแบรนด์อินเตอร์ระดับพรีเมียมอย่าง Magnum, Haagen-Dazs และ London Dairy ซึ่งมีวางขายอยู่เฉพาะในเมืองใหญ่ๆ กลับกลายเป็นสินค้าขายดียอดนิยมที่ผลักดันให้มูลค่าตลาดไอศกรีมของอินเดียโตเอาๆ อย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งๆ ที่เป็นสินค้าราคาแพง แต่อย่างที่ผมเรียนท่านผู้อ่านมาตลอดนั่นแหละครับว่าคนรวยของอินเดียนี่มีอยู่เยอะนะครับ แล้วก็เยอะแบบจริงจังด้วย ตลาดบนแบบนี้จึงเป็นตลาดที่ทุกคนเริ่มหันมามองกันตาเป็นมัน โดยเฉพาะเจ้าตลาดซึ่งเป็นแบรนด์ท้องถิ่นอย่าง Amul ของสหกรณ์นมแห่งรัฐคุชราตที่มีส่วนแบ่งตลาดไอศกรีมสูงสุดถึง 32% และยักษ์ใหญ่อย่างบริษัท Hindustan Unilever ก็ยังต้องปรับกลยุทธ์เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดไอศกรีมพรีเมียมราคาแพงด้วยเลย แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือ ไอศกรีม Magnum นี่นำเข้าจากประเทศไทยนะครับ โดยวางขายอยู่ตามซูเปอร์มาร์เก็ตหรูๆ ในเมืองใหญ่ๆ ของอินเดีย ราคาขายก็ตกอันละเกือบ 50 บาท แต่ก็ยังเป็นสินค้ายอดนิยมขายดิบขายดีอยู่ตลอด

อีกเรื่องหนึ่งที่น่าประหลาดใจก็คือ ช่องทางการจัดจำหน่ายไอศกรีมในประเทศอินเดียส่วนใหญ่ยังคงเป็นร้านโชห่วยหรือร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของอินเดียที่เรียกว่า Kirana โดยในปี 2557 ที่ผ่านมามีการขายไอศกรีมผ่านช่องทางนี้ถึง 88% เลยทีเดียว แต่ถ้ามองย้อนกลับไปก็จะเห็นแนวโน้มว่าช่องทางการจัดจำหน่ายที่เป็นร้านค้าปลีกแบบทันสมัยหรือ Modern Trade ก็ค่อยๆ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดจาก 10.6% ในปี 2553 เป็น 12% ในปี 2557 ซึ่งถือว่ายังเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ แต่ก็เพิ่มขึ้นมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง

ในด้านรสชาติยอดนิยมก็พบว่า คนอินเดียนิยมบริโภคไอศกรีมรสวานิลลามากที่สุด รองลงมาคือ รสสตรอเบอร์รี่ รสช็อกโกแลต รสมะม่วง และรสบัตเตอร์สก็อตช์ ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ในเรื่องความนิยมในรสชาติของไอศกรีมอาจจะมีการสลับตำแหน่งกันบ้างในแต่ละปี แต่ขอเรียนว่าจากการสำรวจพบว่ารสวานิลลาจะเป็นรสที่คนอินเดียนิยมมากที่สุดมาโดยตลอด

ไอศกรีมที่ผมพูดถึงมาตั้งแต่ต้นนั้น เป็นไอศกรีมประเภทที่ผู้บริโภคซื้อกลับไปรับประทานที่บ้านเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นไอศกรีมแบบเป็นร้านเฉพาะในอินเดียก็มีแบรนด์ระดับโลกไปเปิดร้านเรียบร้อยแล้วครับเช่น Haagen-Dazs ซึ่งถือว่าเป็นร้านไอศกรีมระดับหรูหราราคาแพงที่สุด เจาะตลาดคนมีเงินในเมืองใหญ่ของอินเดียเป็นหลัก หรืออย่าง Baskin Robbins เป็นต้น แต่ปรากฏว่าร้านไอศกรีมยอดนิยมกลับกลายเป็นร้านไอศกรีมท้องถิ่นยี่ห้อ Natural ที่คนไทยหลายคนที่เคยไปชิมถึงกับออกปากว่าเป็นไอศกรีมที่อร่อยที่สุดในโลกกันเลยทีเดียว ซึ่งเท็จจริงอย่างไรอันนี้ยังไม่มีการพิสูจน์ แต่ที่แน่ๆ คือ อร่อยและได้รับความนิยมอย่างมากจากคนอินเดียทางใต้ โดยไอศกรีมยี่ห้อ Natural นี้มีแหล่งกำเนิดมาจากเขต Juhu ของเมืองมุมไบตั้งแต่ปี 2527 ซึ่งถ้านับถึงวันนี้ก็ 31 ปีแล้ว

ไอศกรีมยี่ห้อ Natural นี้มีสูตรพิเศษลับเฉพาะโดยเป็นการนำเอากูลฟี่และไอศกรีมมาผสมกันทำให้ได้เนื้อไอศกรีมเหนียวนุ่ม ละเอียด เข้มข้น หวานมัน และเน้นไปที่รสผลไม้ชนิดต่างๆ ด้วยการใส่เนื้อผลไม้สดเข้าไปผสมในไอศกรีมเลย ไม่ว่าจะเป็นน้อยหน่า ซึ่งเป็นรสที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตลอดกาล สตรอว์เบอร์รี่มะเดื่อ องุ่น มะม่วง มะพร้าวอ่อน เป็นต้น และยังคงพัฒนารสชาติใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันร้านไอศกรีม Natural มีสาขาทั้งหมด 118 สาขาในหลายรัฐของอินเดีย แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในรัฐมหาราษฏระ และล่าสุดเพิ่งได้รับรางวัล “Coca Cola Golden Spoon Award 2015” ในประเภทร้านของหวานและไอศกรีม
x

ช่วงนี้อินเดียเข้าสู่ฤดูร้อนแล้วครับ โดยดีกรีของความร้อนก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ของประเทศด้วยความที่เป็นประเทศที่มีพื้นใหญ่

โดยทางตอนเหนือของประเทศอย่างกรุงนิวเดลีที่อยู่ใกล้กับทะเลทรายธาร์ก็จะร้อนแห้งค่อนข้างรุนแรงเลยทีเดียว ในขณะที่ทางใต้อย่างเมืองมุมไบก็จะค่อยยังชั่วกว่าเพราะได้รับอิทธิพลจากลมทะเลที่พัดเข้ามาจากทะเลอาระเบียทำให้อากาศที่มุมไบไม่ได้ร้อนมากอย่างที่คิด แต่สำหรับคนอินเดียแล้วก็ถือว่าร้อนละครับ และวิธีคลายร้อนยอดนิยมวิธีหนึ่งของคนอินเดียก็คือ การรับประทานไอศกรีมนั่นเอง

*****








video



ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/634554
ที่มา https://hebbarskitchen.com/wp-content/uploads/2016/09/kesar-pista-kulfi-2-1024x769.jpeg
ที่มา https://thumb9.shutterstock.com/display_pic_with_logo/3471602/607017068/stock-photo-rajwari-or-rajwadi-sweet-kesar-badam-pista-kulfi-or-ice-cream-candy-607017068.jpg
ที่มา https://thumb9.shutterstock.com/display_pic_with_logo/3471602/606980492/stock-photo-rajwari-or-rajwadi-sweet-kesar-badam-pista-kulfi-or-ice-cream-candy-606980492.jpg
ที่มา https://thumb1.shutterstock.com/display_pic_with_logo/3471602/607016969/stock-photo-rajwari-or-rajwadi-sweet-kesar-badam-pista-kulfi-or-ice-cream-candy-607016969.jpg
ที่มา https://f.ptcdn.info/516/054/000/oz1su38kvpbIJny2sk7-o.jpg
ที่มา https://i2.wp.com/media.hungryforever.com/wp-content/uploads/2015/06/gokul.jpg?w=900&ssl=1
ที่มา https://i1.wp.com/media.hungryforever.com/wp-content/uploads/2015/06/parsi-dairy-farm.jpg?w=900&ssl=1
ที่มา https://i1.wp.com/media.hungryforever.com/wp-content/uploads/2015/06/Kulfi.jpg?ssl=1?w=356&strip=all&quality=80

ขนมลาดู

 ดู 

อินเดียสุดฮิตกับเมนูขนมลาดู​ (Besan Ladoo, Laddu)​ สีสันสวยงาม ปั้นเป็นก้อนกลมรสออกหวาน ๆ กลิ่นห๊อม หอมเครื่องเทศ แค่ลูกเดียวคงไม่พอจ้าาา
แค่เห็นสีสันของขนมสูตรนี้ก็อยากลองทำแล้ว พบกับขนมลาดู (Laddu, Ladoo) สูตรจาก ครัวป้ามารายห์ จับแป้งผสมสีส้มหยอดเป็นเม็ดเล็ก ๆ เอาไปทอดในน้ำมันจนสุกและเอาไปผัดในน้ำเชื่อมให้หวาน สุดท้ายปั้นเป็นก้อนกลม 

ส่วนผสม บุนดี้ (boondi) หรือแป้งทอดกรอบ

  • แป้งถั่วลูกไก่ หรือแป้งเบซัน 125 กรัม
  • น้ำเปล่า 175 กรัม (ถ้าแป้งหนืดไปสามารถเพิ่มได้ค่ะ)
  • เนยกี 1/2 ช้อนชา
  • สีผสมอาหารสีส้ม
  • น้ำมันสำหรับทอด+เนยกีประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ

     หมายเหตุ : ก่อนนำมาทอด ต้องพักแป้งสัก 25-30 นาที 

ส่วนผสม น้ำเชื่อม


  • น้ำตาลทราย 200 กรัม
  •  น้ำ 100 กรัม
  • ผงกระวาน 1/2 ช้อนชา
  • สีผสมอาหารสีส้ม
  • น้ำมะนาวหรือเลมอน 1/2 ช้อนชา (ใส่หลังจากที่น้ำเชื่อมเดือด ดับเตาแล้วก็ใส่น้ำมะนาวลงไปคนให้เข้ากัน แล้วค่อยใส่ boondi)

ส่วนผสม ผลไม้แห้ง

  • เม็ดแตงโม 2 ช้อนโต๊ะ (หรืออย่างอื่นก็ได้)

วิธีทำขนมลาดู

  1. เอาพิมพ์ฟอยล์มากดด้วยตะเกียบหรือก้นดินสอให้เป็นร่องลงไป หลังจากนั้นเอาไม้ปลายแหลมหรือไม้จิ้มฟันเจาะรูเล็ก ๆ หรือจะใช้กระชอนแบบนี้ก็ได้ แต่รูอาจจะใหญ่ไปสักหน่อย แต่ก็ใช้ได้เหมือนกัน
  2. ผสมแป้ง+เนยกี 1/2 ช้อนชา พอเข้ากันแล้วก็ใส่น้ำลงไป ค่อย ๆ แบ่งใส่ก็ได้ จะได้คนเข้ากันง่าย ๆ พอคนแป้งเข้ากันดีแล้วก็ใส่สีผสมอาหารสีส้มแล้วคนให้เข้ากัน พักแป้งไว้ประมาณ 20 นาที
  3. ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืชกับเนยกีลงไปในกระทะ ใช้ไฟกลาง พอน้ำมันร้อนแล้ว ตักแป้งลงไปในกระชอน แล้วเคาะกับขอบกระทะ (ซึ่งเสียงจะดังมาก) อาจจะต้องหากระป๋อง หรืออะไรก็ได้ที่สูงกว่ากระทะเล็กน้อย หาผ้ามารองด้านบนจะทำให้ลดเสียงลงเยอะมาก พยายามเคาะให้ boondi ค่อย ๆ หยดลงมาเป็นเม็ดเล็ก ๆ อย่างสม่ำเสมอ พอแป้งลอยขึ้นมาก็ตักขึ้น พักให้สะเด็ดน้ำมัน
  4. ทำน้ำเชื่อม โดยตั้งกระทะใส่น้ำกับน้ำตาลทราย คนจนน้ำตาลละลาย ใส่สีผสมอาหารสีส้มและผงกระวานลงไป พอน้ำเชื่อมเดือดก็ดับเตาแล้วใส่น้ำมะนาวลงไป หลังจากนั้นใส่ boondi ตามด้วยเม็ดแตงโมลงไป เปิดเตาผัดจนน้ำเชื่อมแห้ง ดับเตาแล้วปิดฝาพักไว้ 20-30 นาที พอเย็นแล้วก็นำมาปั้นเป็นลูกกลม ๆ

*****













video



ที่มา https://cooking.kapook.com/view193207.html
ที่มา http://hbcucareermarket.com/wp-content/uploads/2018/01/%E0%B8%813.jpg
ที่มา http://www.jainrasoi.com/mg/wp-content/uploads/2012/11/motichur-ladoo-600x399.jpg
ที่มา http://www.tasty-indian-recipes.com/wp-content/uploads/2013/09/Motichoor-Ladoo-featured.jpg
ที่มา https://www.flickr.com/photos/glassofhoney/10405584295/
ที่มา https://www.flickr.com/photos/glassofhoney/10405559134/
ที่มา https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ3aKN6naQ44e6k-_pqhQDnjfKeDh7XipNvQJkQFQQXFVDXc7cAyw

แปงกอง ทะเลสาบแห่งฝันและศรัทธา

แ ป ง ก อ ง ...ทะเลสาบแห่งฝันและศรัทธา เป็นสถานที่ ที่มีทัศนียภาพของสองฤดูที่มีความสวยงามที่แตกต่างกันไป อยากรู้ว่าสวยงามขนาดไหน ทำ...