วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561

ข้อมูลในประเทศอินเดีย

ประเทศอินเดียเป็นอีกประเทศหนึ่งอะนะ ที่มีประชากรอาศัยอยู่เยอะที่สุด  รองจากประเทศจีน เพียงแค่ 2% เท่านั้นเอง คนจะเยอะไปไหนเนี่ย วุ่นวายน่าดู 

ข้มูอิดี

อินเดีย  ดินแดนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานกว่า 5,000 ปี เป็นถิ่นกำเนิดศาสดาและศาสนาสำคัญของโลก รวมถึงศิลปวัฒนธรรมประเพณี ที่เป็นเอกลักษณ์อีกทั้งยังเป็นต้นแบบด้านวัฒนธรรมไปยังภูมิภาครอบข้าง ซึ่งประเทศไทยเราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ต้องยอมรับว่า วัฒนธรรม ประเพณี และศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อแนวทางการดำเนินชีวิตของเรานั้นล้วนแล้วมีต้นรากมาจาก “ ประเทศอินเดีย ” แทบทั้งสิ้น ดังนั้นเรามารู้จักประเทศนี้กันสักหน่อยดีกว่า





ชื่อประเทศอย่างเป็นทางการ : สาธารณรัฐอินเดีย ( Republic of India )

ชื่อประเทศอินเดีย ในสมัยพุทธกาล เรียกกันว่า “ ชมพูทวีป ” ซึ่งแปลว่า “ ทวีปแห่งไม้หว้า ” เพราะมีต้นหว้าขึ้นมากในดินแดนแห่งนี้ ส่วนคำว่า “ อินเดีย ” เป็นคำในภาษาเปอร์เซีย ซึ่งเรียกแม่น้ำสินธุ ว่า “ ฮินดู ” เนื่องจาก   ชาวเปอร์เซียรู้จักอินเดีย โดยเข้ามาทางลุ่มน้ำนี้เมื่อ 3,000 กว่าปีมาแล้ว  ต่อมาเมื่อชาวกรีกเริ่มเข้ามา ได้ออกเสียงคำว่า ฮินดูเพี้ยนไปเป็น “ อินโดส ” และเพี้ยนออกไปเป็น “อินดุส” และ “อินเดีย” ตามลำดับ แต่สำหรับชาวอินเดียแล้ว นิยมเรียกประเทศตนเองว่า “ภารตะ” หรือ “ภารตวรรษ” ซึ่งแปลว่า “ ประเทศภารตะ ” และเรียกตนเองว่าเป็น “ ชาวภารตะ” ทั้งนี้สืบเนื่องจากความเชื่อที่ว่า ชาวอินเดียสืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต (อ่านว่า พะ-รต)  ซึ่งเป็นต้นวงศ์ของเรื่องราวในมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ของชาวอินเดีย คือ  “มหาภารตยุทธ์” ซึ่งมีชื่อเสียงคู่กันกับ “มหากาพย์รามายณะ” หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “รามเกียรติ์”
ประเทศอินเดียในครั้งที่เรียกว่า ชมพูทวีปนั้น มีพื้นที่กว้างขวางมากกว่าประเทศอินเดียในปัจจุบันนี้มาก โดยกินอาณาบริเวณเมื่อเทียบกับปัจจุบัน เท่ากับ 7 ประเทศรวมกัน คือ  
1. อินเดีย  
2. ปากีสถาน   
3. บังกลาเทศ    
4. เนปาล  
5. ภูฎาน       
6.  สิกขิม (รัฐในอารักขาของอินเดีย)  
7. บางส่วนของอาฟกานิสถาน ซึ่งหากรวมทั้ง 7 ประเทศนี้แล้ว จะมีจำนวนประชากรพอ ๆ  กับประเทศจีนทีเดียว

อิดีปัจุบั

ประเทศอินเดียมีเนื้อที่ทั้งหมด ประมาณ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าประเทศไทย 6 เท่า หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอินเดียปัจจุบันประกอบด้วย 28 รัฐ 7 เขตปกครองพิเศษ เมืองหลวงของประเทศคือเมืองเดลี อยู่ในรัฐหรยาณา  และในแต่ละรัฐจะมีเมืองหลวงของรัฐนั้น ๆ ด้วย

รัฐ
1. อานธรประเทศ 2. อรุณาจัลประเทศ 3. อัสสัม 4. พิหาร 5. ฉัตติสครห์ 6. กัว 7. คุชราต 8. หรยาณา 9. หิมาจัลประเทศ 10. ชัมมูและกัศมีร์ 11. ฌาร์ขัณฑ์ 12. กรณาฏกะ 13. เกรละ 14. มัธยประเทศ 15. มหาราษฏระ 16. มณีปุระ 17. เมฆาลัย 18. มิโซรัม 19. นาคาแลนด์ 20. โอริสสา 21. ปัญจาบ 22. ราชสถาน 23. สิกขิม 24. ทมิฬนาฑู 25. ตริปุระ 26. อุตตรประเทศ 27. อุตตราขัณฑ์ 28. เบงกอลตะวันตก

 ดิ

A. หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์  B.จัณฑีครห์  C. ดาดราและนครหเวลี  D. ดามันและดีอู  E. ลักษณทวีป  F.เดลี G. พอนดิเชอร์รี

ภูมิ

อินเดียเป็นประเทศที่มีสภาพภูมิศาสตร์ทุกรูปแบบ คือ ที่ราบสูงอยู่ตอนเหนือ ซึ่งมีภูเขาหิมาลัยเป็นแนวเขตแดนธรรมชาติ และเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ โดยเฉพาะแม่น้ำสำคัญ 5 สาย ที่เรียกว่า “ปัญจมหานที” ได้แก่ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู และมหี  ตอนกลางเป็นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา ซึ่งเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์และมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดในโลก ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือแถบแคว้นราชสถานเป็นส่วนของทะเลทรายทาร์ ส่วนทางตอนใต้มีทั้งที่ราบสูงอันแสนจะแห้งแล้ง และติดกับฝั่งทะเลซึ่งเป็นเขตมรสุม

          เนื่องจากมีความหลากหลายในเชิงภูมิศาสตร์ เป็นเหตุให้อินเดียมีสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันอย่างมาก จากหนาวที่สุดที่มีหิมะปกคลุมทั้งปี ไปจนถึงร้อนที่สุดจนคนตาย  จากแห้งแล้งที่สุดไปจนถึงเขตที่มีฝนตกชุกที่สุดของโลก  ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า อินเดียจะเป็นสวรรค์ของบรรดานักวิชาการด้านต้นไม้ พันธุ์พืชและสัตว์ต่าง ๆ อย่างยากที่ประเทศใดจะเทียบได้

*****

ประชากร

อินเดียมีประชากรมากเป็นอันดับสองของโลก รองจากประเทศจีน คือ ประมาณ หนึ่งพันหนึ่งร้อยล้านคน ส่วนใหญ่ร้อยละ 72 เป็นชนเผ่า  อินโด-อารยัน   ชนพื้นเมืองเดิมคือเผ่าดราวิเดียน หรือทมิฬ มีประมาณร้อยละ 25  นอกนั้นเป็นเผ่ามองโกล ทิเบตและเตอร์ก

*****

ภาษา

อินเดียมีภาษาถิ่นมากกว่า 200 ภาษา แต่รัฐธรรมนูญรับรองเพียง 14 ภาษา และภาษาทางราชการคือภาษาฮินดี ซึ่งมีประชากรพูดมากที่สุดคือ ร้อยละ 40  ซึ่งภาษาฮินดีนี้คือการเปลี่ยนแปลงรูปมาจากภาษาสันสกฤตและภาษาบาลีนั่นเอง

การเมืองการปกครอง

อินเดียเป็นประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ และกระจายอำนาจการปกครองในลักษณะสหพันธรัฐ (Federal System) แบ่งออกเป็นรัฐต่างๆ 28 รัฐ โดยล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม 2544 โลกสภาได้เห็นชอบร่างรัฐบัญญัติในการจัดตั้งรัฐใหม่ 3 รัฐ คือ รัฐฉัตตีสครห์ (Chattisgarh) รัฐอุตตะรันจัล (Uttaranchal) และรัฐฉรขันท์ (Jharkhand) ซึ่งแยกออกจากรัฐมัธยประเทศ  อุตตระประเทศ และรัฐพิหาร ตามลำดับ และสหภาพอาณาเขตของรัฐบาลกลาง (Union Territories) อีก 7 เขต

รัฐธรรมนูญอินเดียแบ่งแยกอำนาจระหว่างรัฐบาลกลาง (Government of India) และรัฐบาลมลรัฐ (State Government) อย่างชัดเจน โดยรัฐบาลกลางดำเนินการเรื่องการป้องกันประเทศด้านนโยบายต่างประเทศ การรถไฟ การบิน และการคมนาคมอื่นๆ ด้านการเงิน ด้านกฎหมายอาญา ฯลฯ ส่วนรัฐบาลมลรัฐมีอำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อยและรักษากฎหมาย การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของมลรัฐ

เศรษฐกิจ

อินเดียเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ต่ำ ประชากรกว่าร้อยละ 60 ยังประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปัญหาความยากจนและการว่างงานเป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากการปิดประเทศและดำเนินนโยบายปกป้องอุตสาหกรรมภายในมานาน อย่างไรก็ดี อินเดียเริ่มเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ เมื่อปี 2534 เนื่องจากต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง จุดเปลี่ยนที่สำคัญ คือ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งส่งผลให้มีการลงทุนจากต่างชาติในกิจการด้านไฟฟ้า พลังงาน และอุตสาหกรรมต่างๆ นอกจากนี้ ได้เปิดเสรีด้านโทรคมนาคมและการสื่อสารในปี 2543 ทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของอินเดียดีขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันอินเดียเป็นตลาดใหม่ที่ได้รับความสนใจอย่างยิ่ง จากนานาชาติ

ในปี 2547 เศรษฐกิจอินเดียเติบโตเป็นอันดับที่ 12 ของโลก และเป็นอันดับ 3 ในเอเชียรองจากญี่ปุ่นและจีน โดยมี GDP 505.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เศรษฐกิจอินเดียไตรมาสสุดท้ายของ ปี 2546 เติบโตถึงร้อยละ 10 เนื่องจากเก็บเกี่ยวผลิตผลทางการเกษตรได้เต็มที่ การส่งออกเติบโตถึงร้อยละ 10 รายได้จากการลงทุนโดยตรงของต่างชาติมีจำนวน 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราดอกเบี้ยต่ำลง อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับร้อยละ 4.91 ตลาดเงินทุนแข็งแกร่ง เงินทุนสำรองต่างประเทศสูงกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

วัฒนธรรม

อินเดียเป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมอารยธรรมที่เก่าแก่ พุทธศาสนามีอิทธิพลต่ออินเดียทั้งที่เป็นวัฒนธรรมทางวัตถุและทางจิตใจ ได้มีสถาปัตยกรรม และปติมากรรมทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นมากมาย ล้วนมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เช่นสังเวชนียสถานอันเป็นสถานที่สำคัญที่ชาวพุทธทั่วโลกไปกราบนมัสการ ส่วนวัฒนธรรมทางจิตใจนั้นมีอิทธิพลต่อชาวอินเดียอยู่ไม่น้อย เช่นความเชื่อเรื่องอหิงสา เป็นต้น

วัฒนธรรมอินเดียแม้จะมีการเลือกปฏิบัติ แต่ให้เกียรติผู้หญิง คนอินเดียจะไม่แตะต้องร่างกายผู้หญิงในที่สาธารณะ มารยาทในการทักทายกัน ทั้งหญิงและชายจะพนมมือไหว้เหมือนคนไทย แต่ไม่ก้มศีรษะ ไม่มีการจับมือกันแบบเช็คแฮนด์เช่นชาวยุโรป ในชนบท ผู้ชายมักจ้องมองผู้หญิงโดยเฉพาะหญิงต่างชาติอย่างจริงจัง ไม่ต้องตกใจกลัว พวกเขามองเพราะสนใจและสงสัย ไม่ได้มีเจตนาจะมาทำร้ายแต่ประการใด

ศาสนา

อินเดียเป็นดินแดนแห่งศาสนาโดยแท้ ตั้งแต่โบราณกาลมาจนกระทั่งปัจจุบัน เพราะอินเดียมีภูมิประเทศ ที่อยู่ และเผ่าชนเป็นปรัชญาเมธีต่างๆ ในการค้นคิดในเรื่องของชีวิตและทางด้านคำสั่งสอน จนเกิดลัทธิศาสนาต่างๆ มากมายที่สุดในโลก จะเรียกอินเดียเป็นโลกแห่งศาสนาก็ว่าได้ ศาสนาที่สำคัญมีอยู่ในโลกปัจจุบันเกิดในอินเดีย ถึง ๔ ศาสนา คือ พราหมณ์ หรือ ฮินดู พุทธ เชน หรือ นิครนถ์ และ ซิกข์

*****





video



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แปงกอง ทะเลสาบแห่งฝันและศรัทธา

แ ป ง ก อ ง ...ทะเลสาบแห่งฝันและศรัทธา เป็นสถานที่ ที่มีทัศนียภาพของสองฤดูที่มีความสวยงามที่แตกต่างกันไป อยากรู้ว่าสวยงามขนาดไหน ทำ...