วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เทือกเขาหิมาลัย

เทือกเขาหิมาลัย 

Himalaya "

หากคุณพลาดการเยี่ยมชมเทือกเขาหิมาลัยที่ประเทศอินเดียแล้วล่ะก็ เรียกได้ว่าพลาดมาก ๆ เพราะความงามจากวิวทิวทัศน์รอบ ๆ เทือกเขาแห่งนี้นั้นเหนือคำบรรยายใด ๆ เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม นอกจากวิวสวย ๆ บนเขาแล้ว ที่นี่ยังมีสิ่งก่อสร้างดีไซน์โดดเด่นสไตล์นีโอก๊อธธิค ที่สวยงามราวกับบ้านในนิทาน ให้คุณได้ชื่นชมไม่รู้เบื่ออีกด้วย
               เทือกเขาหิมาลัย หมายรวมถึงเทือกเขาโคราโครัม ภูเขาฮินดูคุช และเทือกเขาอื่นๆที่เล็กกว่า เมื่อรวมกันแล้วเทือกเขาหิมาลัยเป็นระบบที่สูงที่สุดในโลก และเป็นบ้านของยอดเขาที่สูงที่สุด ซึ่งรวมถึงยอดเขาเอฟเวอร์เรส และ K2
หากจะนึกถึงขนาดที่ใหญ่โตของเทือกเขาแห่งนี้ ลองนึกถึงภูเขาเขา Aconcagua ในเทือกเขาแอนดิส ซึ่งสูง 22,841 ฟุต ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดนอกทวีปเอเชีย ในขณะที่เทือกเขาหิมาลัยจะรวมถึงภูเขาน้อยใหญ่มากกว่า 100 ลูก และสูงกว่า 23,622 ฟุต
“เทือกเขาหิมาลัย” ตั้งต้นมาจาก นาร์งา พาร์บัต (Nanga Parbat) ตอนเหนือของปากีสถาน ทอดตัวโค้งจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก จากในแม่น้ำในหุบเขาอินดัส ไปจนถึงหุบเขาบรามาบุตตรา หลอมรวมกลายเป็นแนวโค้งยาว 2,400 กิโลเมตร ซึ่งมีความกว้างจาก 400 กิโลเมตรทางทิศตะวันตก ในบริเวณแคชเมีย-ซินเจียง ไปจนถึง 150 กิโลเมตรทางทิศตะวันออกในบริเวณ ทิเบต-อรุนาจันประเทศ
ก่อเกิดเป็นปราการธรรมชาติแบ่งกั้นอนุทวีปกับที่ราบสูงทิเบต และถูกใช้กำหนดเป็นตะเข็บแบ่งพรมแดนระหว่างปากีสถาน อินเดีย ภูฐาน และจีน  จนมาสุดปลายเทือกเขาที่ นัมจัก ปร์วา (Namchak Barwa) ทางตะวันออกฉียงใต้ของทิเบต
ตลอดทั้งเทือกเขา ตระหง่านเสียดฟ้าด้วยยอดเขาสูงเกินแปดพันเมตร กระจายอยู่ถึง 14 ยอด ส่วนที่สูงน้อยลงมากว่าครึ่งก็มีหิมะปกคลุมอยู่ชั่วนาตาปี
เทือกเขาหิมาลัยในเนปาล ประกอบไปด้วยยอดเขา 250 ยอดที่งดงาม ซึ่งทุกยอดเขามีความสูงมากกว่า 6,000 เมตร และราวร้อยละ 75 ของพื้นที่ของเนปาลปกคลุมด้วยภูเขาหิมาลัย
การค้นพบเรื่องราวของ “เทือกเขาหิมาลัย” อย่างเป็นทางการเริ่มต้นเมื่อราวกลางศตวรรษที่ 18 เมื่อ British East India Company เข้ามารุกรานครอบครองอินเดีย และพยายามขยายอิทธิพลขึ้นมาทางเหนือ จักรวรรดิอังกฤษได้เร่งส่งเหล่านักสำรวจบุกขึ้นไปตามเทือกเขาหิมาลัย เพื่อสอดแนมและทำแผนที่อาณาเขตพรมแดน
ต่อมา ในปี 1783 แผนที่ดินแดนอนุทวีปแผ่นแรก ภายใต้อาณัติของของจักรวรรดิอังกฤษก็เป็นรูปเป็นร่างขึ้น ภายใต้การสำรวจของ ร้อยเอก เจมส์ เรนเนลล์ (James Rennell) ค.ศ.1742-1830 แผนที่ของเรนแนล ชื่อ Map of Hindoostan (ซี่งเป็นชื่อเก่าของอินเดีย) ซึ่งแม้จะมีส่วนคลาดเคลื่อนอยู่บ้างตามธรรมชาติของแผนที่ยุคแรกๆ แต่ก็เป็นแผนที่ชัดเจนฉบับต้นๆ ทีมีข้อมูลเกี่ยวกับ หิมาลัย และถูกนักสำรวจรุ่นถัดมาใช้อ้างอิงสำหรับเดินทางสู่เทือกเขาแห่งนี้
เราเนล บอกว่า ยอดเขาหิมาลัยบางยอด อาจสูงเกินกว่า 8,000 เมตร แต่ข้อมูลส่วนนี้กลับไม่ได้รับความเชื่อถือ จนย่างเข้าปี 1806 เมื่อ วิลเลี่ยม แลมป์ตัน (William Lambton) นำหลักฐานทางตรีโกณมิติ มาคำนวณรังวัดสภาพภูมิศาสตร์เพื่อจัดทำแผนที่ โดยเริ่มใช้ที่แหลมโคโนริน (Comorin : โดยชื่อตามภาษาอินเดียว่า “กัญญา กุมารี” (Kanya Kumari) แผ่นดินปลายสุดของอนุทวีป)
วิธีนี้ได้รับการยึดถือเป็นมาตรฐานสำหรับการสำรวจพิกัดทางภูมิศาสตร์ในเวลาต่อมา ช่วงหลัง จอร์จ เอเวอร์เรส (George Everest) เข้ามารับช่วงเป็นเป็นหัวหน้างาน ระหว่างปี 1830-1843 และทำการสำรวจวัดยอดเขาสูงที่สำคัญๆของ ‘หิมาลัย” ที่ตั้งอยู่ในเขตเนปาล จึงมีการยอมรับว่ามียอดเขาสูงเกิน 8,000 เมตรอยู่หลายยอด ตามที่ เรนเนล เคยรายงานเอาไว้
อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 1841 เอเวอร์เรส บันทึกถึงการมีอยู่ของยอดเขาลูกหนึ่งไว้ แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก นอกจากตั้งชื่อเอาไว้ว่า “ยอดเขา – บี (Peak-B)” ครั้นสมัยแอนดรูว์ สก๊อต วอฝ (Andrew Scott Waugh) มาเป็นหัวหน้าโครงการ “The Great Trigonometric Survey” ระหว่างปี 1843-1861 ตอจากเอเวอร์เรส ได้มีลูกจ้างโครงการ ซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์อินเดีย ชาวเบงกอล ชื่อ รถานาท สิกดาร์ (Radhanath Sikdar) คำนวณพบว่า “ยอดเขา – บี (Peak-B)” ที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดนทิศตะวันตกของเนปาลติดกับทิเบตคือยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก
สิกดาร์ รายงานเรื่องที่คำนวณพบแก่ผู้บังคับบัญชาเมื่อปี 1852 แต่ดูเหมือนว่า วอฝ จะไม่ใส่ใจมากนัก เพราะเวลานั้นเขาปักใจเชื่อว่า “คันเซงจุงก้า (Kanchenjunga)” ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอาณาจักรสิกขิม ติดกับชายแดนเนปาล น่าจะคือยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก วอฝ จึงเก็บรายงานฉบับนั้นไว้อย่างลังเล
เมื่อมีการจัดระบบทะเบียนสำรวจชื่อยอดเขาขึ้นใหม่ในปี 1854 โดยใช้หมายเลขกำกับ ชื่อ “ยอดเขา – บี (Peak-B)” จึงถูกเปลี่ยนเป็น “ยอดเขา 15 (Peak XV)”
                แล้วความลังเลก็ถูกเก็บอีก 2 ปี จนเมื่อ วอฝ สำรวจตรวจสอบแล้ว ตรวจสอบอีก จนเป็นที่ประจักษ์ว่า ยอดเขาลูกที่ สิกดาร์ คำนวณพบ คือยอดเขาที่สูงที่สุด การประกาศจึงเกิดขึ้น
ปี 1856 แอนดรูว์ สก๊อต วอฝ รายงานต่อทางการจักรวรรดิอังกฤษ ถึงการค้นพบยอดเขาสูงที่สุดในโลก คือสูง 8,840 เมตร (ตามการคำนวณในขณะนั้น ซึ่งปัจจุบันคำนวณใหม่โดยทีมนักไต่เขาชาวจีน เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2005 ได้ความสูง 8,844.43 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล) และเสนอแนะให้เรียกยอดเขาลูกนี้ว่า “เอเวอร์เรส” โดยอ้างว่า ตรวจสอบแล้วไม่พบชื่อพื้นเมือง และทีสำคัญเพื่อเป็นเกียรติ์แก่ จอร์จ เอเวอร์เรส ผู้บันทึกการมีอยู่ของยอดเขาดังกล่าวตามหลักการทางภูมิศาสตร์เป็นคนแรก และในปี 1865 ได้มีการประกาศเปลี่ยนชื่อ “ยอดเขา 15” เป็น “เอเวอร์เรส”
ความจริง ชาวทิเบต เรียกยอดเขาลูกนี้ว่า “โจโมลังม่า (Jomolangma)” หมายถึง “โลกยะมารดา” ส่วนชาวเนปาลเรียกในชื่อ “สักการะมาธา” หมายถึง “พระแม่แห่งจักรวาล” ทั้งชาวทิเบตและเนปาล ต่างล้วนนับถือว่าเป็นยอดเขาศักดิ์สิทธิ์สูงสุดมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล
แม้ว่าความสูงของ “สักการะมาธา” จะถูกคำนวณพบโดยชาวอังกฤษ และเป็นที่ตื่นเต้นของชาวตะวันตกในกลางสตวรรษที่ 19  แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ยังไม่มีชาวต่างชาติคนใดเคยย่างกรายไปสำรวจ จนถึงปี 1903 คณะสำรวจจากอังกฤษ
ได้รับอนุญาตจากราชอาณาจักรเนปาล ให้เข้าไปสำรวจสังเกตการณ์ได้จากเนินเขารอบกรุงกาฏมาณฑุ                   แล้วอีกเกือบครึ่งศตวรรษให้หลัง จึงเริ่มมีการพยายามปีนป่ายขึ้นไปสู่ยอดเขาแห่งนี้
ยอดเขาเอฟเวอร์เรสเป็นจุดสูงสุดของผิวโลก (29,029 ฟุต) ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย
ภูเขาแห่งนี้อยู่ตรงชายแดนระหว่างเขต Sagarmatha Zone ประเทศเนปาล กับ ทิเบต ประเทศจีน นาย Edmund Hillary และนาย Tenzing Norgay เป็นสองคนแรกที่ปีนเขาเอฟเวอร์เรสสำเร็จเป็นพวกแรกในปี 1953
ปัจจุบันการปีนสู่ยอดเอเวอร์เรสนั้น ต้องมีใบประกาศนียบัตรรับรองผ่านการปีนเขามาจากที่อื่นก่อน ซึ่งใบประกาศนั้นจะระบุว่าคุณผ่านการปีนเขาอะไรมาบ้าง และชำนาญมากน้อยเพียงใด หากครบตามมารฐานของสมาคมปีนเขานานาชาติแล้ว ก็ยังต้องมีใบรับรองสุขภาพในการปีนเขาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ด้วย จึงจะมาปีนเขาที่น่ได้ ไม่ใช่ใครอยากจะปีนก็ปีนได้
เมื่อยื่นความจำนงขอปีนเขาแล้วก็ยังต้องรอคิว และที่สำคัญ นักปีนเขาจะต้องเสียค่าเหยียบภูเขาเอเวอร์เรสอีกคนละ 2,500 ดอลล่าร์สหรัฐอีกต่างหาก
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม วิ่งมาราธอน Tenzing Hillary Everest Marathon 2006 ณ Everest Base Camp ที่ประเทศเนปาลเอฟเวอร์เรสมาราธอน เป็นกีฬาสำหรับนักวิ่งในพื้นที่ภูเขาสูง ด้วยเป็นการแข่งขันที่สุดยอด หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นกีฬาทีท้าทายที่สุดในโลก นักวิ่งเหล่านี้จะต้องต่อสู้กับอากาศยากลำบาก และกระทั่งต้องสู้กับความเจ็บป่วยที่เกิดจากระดับความสูง เพียงเพื่อจะได้ประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมที่น่ารักอันเดียวของโลก นั่นคือ การวิ่งมาราธอนที่สูงที่สุดในโลก
ทหารเนปาลรักษาการณ์ที่หมู่บ้าน Khumjung ทางขึ้นสู่ภูเขาเอฟเวอร์เรสทางตอนเหนือของเนปาล
เนื่องจากขนาดที่ใหญ่โตและความกว้างของเทือกเขาหิมาลัย มันจึงเป็นปราการธรรมชาติที่กั้นการเคลื่อนถิ่นฐานของมนุษย์มากว่าหมื่นปีแล้ว มันยังขัดขวางเส้นทางการค้า รวมถึงป้องกันการรุกรานทางทหารไม่ให้ข้ามความกว้างใหญ่ของมันเข้ามา ยกตัวอย่างเช่น เจ็งกิสข่าน ไม่สามารถที่จะขยายอาณาจักรลงมาทางใต้ของเทือกเขาหิมาลัยเข้ามาสู่คาบสมุทร
เทือกเขาหิมาลัยยังป้องกันการผสมเผ่าพันธุ์ของมนุษย์จากคาบสมุทรอินเดียกับคนจากประเทศจีนและมองโกเลีย ทำให้เกิดทั้งภาษาและประเพณีที่แตกต่างกันระกว่างพื้นที่เหล่านี้
ถึงแม้ว่าเนปาลจะเป็นที่รู้จักในเรื่องของเทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาที่สวยงามนี้ยังทอดตัวเข้าไปถึงประเทศจีน อินเดีย ภูฐาน อาฟกานิสถาน และปากีสถาน
นักเดินป่าและนักท่องเที่ยวนั่งพักที่ภูเขา Thamserku ในอาณาจักรของเทือกเขาเอฟเวอร์เรส – บ้านของยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก 14 แห่ง ซึ่งรวมถึงยอดเขาเอฟเวอร์เรส
ยอดสูงสุดของเทือกเขาหิมาลัยมองเห็นได้จากบริเวณใกล้ๆ Mount Everest base camp ด้วยเหตุที่ภูมิอากาศที่คาดเดาไม่ได้ในบริเวณแถบนี้ ทำให้ความพยายามในการปีนเขาเป็นไปอย่างยากลำบาก
เทือกเขาหิมาลัยรวมเอาธารน้ำแข็งเอาไว้ถึง 15,000 แห่ง ซึ่งกักน้ำจืดเอาไว้ถึง 12,000 ลูกบาศน์กิโลเมตร ธารน้ำแข็ง Siachen Glacier ยาว 70 กิโลเมตร ณ ชายแดนอินเดีย-ปากีสถาน เป็นธารนต้ำแข็งที่ยาวเป็นอันดับสองของโลกนอกเขตขั้วโลก
ชาวเนปาลมองไปยังยอดเขาเอฟเวอร์เรส (ยอดกลาง) ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก
ยอดเขาเอฟเวอร์เรส ตั้งตามชื่อของ Sir George Everest ในปี 1865 ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง British surveyor-general of India ก่อนนั้นยอดเขาแห่งนี้รู้จักกันในชื่อ Peak XV (ยอดเขาที่ 15).
เมื่อครั้งที่ชาวนิวซีแลนด์ 2 คนคือ Edmund Hillary และ Tenzing Norgay นักไต่เขาจากอินเดียและเนปาลปีนขึ้นมาถึงยอดเขาเมื่อเวลา 11.30 น. ตามเวลาท้องถิ่นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 1953 โดยผ่านมาทาง South Col Route พวกเขาหยุดพักที่จุดสูงสุดเพื่อถ่ายรูปและฝังของหวานสองสามชิ้นและกางเขนอันเล็กๆในหิมะก่อนที่จะปีนกลับลงมา
ภูเขาเอฟเวอร์เรสซึ่งเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโลกด้วยความสูง 29,028 ฟุต มองเห็นได้จากภาพทางอากาศซึ่งถ่ายจากเครื่องบินพาณิชย์ที่บินเหนือเนปาลที่ความสูง 30,000 ฟุต เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2008 ภูเขาเอฟเวอร์เรสเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัยที่ทอดตัวไปตามชายแดนของเนปาลและทิเบต ฉากหลังที่เห็นคือที่ราบสูงทิเบต


******














 video



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แปงกอง ทะเลสาบแห่งฝันและศรัทธา

แ ป ง ก อ ง ...ทะเลสาบแห่งฝันและศรัทธา เป็นสถานที่ ที่มีทัศนียภาพของสองฤดูที่มีความสวยงามที่แตกต่างกันไป อยากรู้ว่าสวยงามขนาดไหน ทำ...