วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ป้อมปราการแอมเบอร์ (Amber Fort)


ป้อมปราการแอมเบอร์
Amber For)

ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีป้อมต่างๆมากมายตั้งอยู่ทั่วประเทศ และป้อมปราการแอมเบอร์ ก็เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่น่าสนใจไม่มากก็น้อยสำหรับนักท่องเที่ยว
หนึ่งใน สถานที่สวยงาม ที่เมืองชัยปุระ ประเทศอินเดีย คือ แอมเบอร์ฟอร์ท สมัยศตวรรษที่ 16 สร้างโดยมหาราชา มาน สิงห์ที่ 1(Raja Man Singh 1) ได้ทรงรับสั่งให้สร้างป้อมนี้ขึ้นในปี 1592 และได้มีการบูรณะหลายต่อหลายครั้งเป็นเวลาหลายศตวรรษ แอมเบอร์ฟอร์ทจะอยู่ห่างออกมาจากเมืองชัยปุระ ราว 10 กิโลเมตร ภายในพระราชวังจะมีรายละเอียดที่สวยงาม มีลวดลายอ่อนช้อย และมีสวน Char Bagh อยู่ภายในพระราชวังด้วย จุดเด่นอีกอย่างหนึ่ง ของพระราชวังแอมเบอร์คือ เรื่องการจัดการระบบน้ำ การนำน้ำจากทะเลสาบ Maota มาใช้ในพระราชวัง ภายในป้อมปราการจะมีส่วนที่เป็นพระราชาวังด้วยคะคือพระราชวังแอมเบอร์ พระราชวังแอมเบอร์ฟอร์ท แต่เดิมเคยเป็นราชธานีชองเมืองชัยปุระ สร้างบนเนินเขาสูงที่ตำแหน่งเดิม เคยเป็นป้อมปราการเก่าในศตวรรษที่ 11 มาก่อน สร้างขึ้นโดยมหาราชาแมนสิงห์ ในปี ค.ศ. 1592 และเสร็จสิ้นลงในสมัยของมหาราชาใจสิงห์ ป้อมแห่งนี้เป็นต้นแบบของสถาปัตยกรรมแบบราชปุต (Rajput) หน้าป้อมปราการจะมีทะเลสาบ Maota อยู่ข้างล่าง และใกล้ๆยังมีชุมชนเก่าอีกด้วย ป้อมอาแมร์ (ฮินดี: आमेर क़िला, อังกฤษ: Amer Fort) หรือ ป้อมแอมเบอร์ (Amber Fort) ตั้งอยู่ที่


เมืองอาร์แมร์ ชานเมืองชัยปุระ รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย (เป็นเมืองเล็กๆที่มีขนาดเพียง 4 กม² (1.5 sq mi)) ห่างจากชัยปุระเป็นระยะทาง 11 กิโลเมตร (6.8 ไมล์) ป้อมแอมเบอร์นั้นเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของชัยปุระ โดยที่ตั้งนั้นโดดเด่นอยู่บนผาหินเหนือทะเลสาบ สร้างโดยมหาราชา มาน สิงห์ที่ 1(Raja Man Singh 1) ป้อมปราการแห่งนี้มีชื่อเสียงทางด้านสถาปัตยกรรมซึ่งผสมผสานกันระหว่างศิลปะฮินดูและศิลปะราชปุตอันเป็นเอกลักษณ์ สามารถมองเห็นได้จากระยะทางไกลเนื่องจากมีขนาดกำแพงปราการที่ใหญ่และแน่นหนา พร้อมประตูทางเข้าหลายแห่ง ถนนที่ปูด้วยหินหลายสาย ซึ่งเมื่ออยู่บนป้อมแล้วสามารถมองเห็นทะเลสาบ เมาตาได้อย่างชัดเจนบริเวณด้านหน้า ความสวยงามของบรรยากาศของป้อมแอมเบอร์ นั้นซ่อนอยู่ภายในกำแพงเมืองที่แบ่งเป็นทั้งหมด 4 ชั้น (แต่ละชั้นคั่นด้วยทางเดินกว้าง) โดยภายในเป็นหมู่พระที่นั่งซึ่งสร้างจากหินทรายสีแดงและหินอ่อน หมู่พระที่นั่งภายในป้อมแอมเบอร์ ประกอบด้วย "ดิวัน-อิ-อัม" หรือท้องพระโรง, "ดิวัน-อิ-กัส" หรือท้องพระโรงส่วนพระองค์, "ชีชมาฮาล" (พระตำหนักซึ่งเป็นห้องทรงประดับกระจกสำหรับมหาราชา) และ "จัย มานดีร์" ซึ่งเป็น
ตำหนักอยู่บนชั้นสอง, "อารัม บักห์" ซึ่งเป็นสวนสวยจัดเป็นรูปดาวแฉกแบบโมกุลคั่นกลางระหว่างอาคาร และ "สุกห์นิวาส" ซึ่งเป็นพระตำหนักที่ใช้การปรับอากาศภายในพระตำหนักให้เย็นลงด้วยการทำให้ลมเป่าผ่านรางน้ำตกที่มีอยู่โดยรอบภายในพระตำหนัก ทำให้ภายในตำหนักนี้มีอากาศเย็นอยู่เสมอ จากลักษณะโดยรวมอันสวยงามของบริเวณภายในป้อม จึงนิยมเรียกป้อมแห่งนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "พระราชวังอาเมร์ หรือ พระราชวัง แอมเบอร์" พระราชวังในป้อมแอมเบอร์ นี้เคยเป็นที่ประทับของราชปุต มหาราชา และพระราชวงศ์ของอาเมร์ในอดีต นอกจากนี้บริเวณประตูทางเข้าพระราชวังใกล้กับประตูกาเนช (Ganesh Gate "ประตูพระคเณศ") เป็นที่ตั้งของวัดชิลาเทวี (Sila Devi) ซึ่งภายในมีศาลบูชาพระแม่ทุรคา ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม ซึ่งมหาราชา มาน สิงห์ทรงเคารพบูชาอย่างสูง เนื่องจากพระองค์ได้ทรงพระสุบินถึงพระแม่ทุร
คาทูลให้ทราบว่าพระองค์จะชนะสงครามกับมหาราชาแห่งเบงกอลในปีค.ศ. 1604 ป้อมแอมเบอร์ และป้อมจัยการห์ ทั้งสองนั้นตั้งอยู่บนเขา "ชีลกาทีลา" (เขาแห่งอินทรี) อันเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาอะราวัลลี ทั้งสองป้อมนี้ถือว่าเป็นสถานที่เดียวกัน เนื่องจากสามารถเดินทางหากันได้โดยทางเชื่อมใต้ดิน ซึ่งใช้เป็นทางหลบหนีสำหรับเชื้อพระวงศ์ในกรณีที่ป้อมแอมเบอร์นั้นถูกยึดครอง มาทำความรู้จักเกี่ยวกับเมือง ชัยปุระ (Jaipur) กันสักนิดนะครับ เพราะวันหลังจะพามาดูสถานที่อื่นๆของเมืองนี้ ชัยปุระ (ฮินดี: जयपुर, อักษรโรมัน: Jaipur) เป็นเมืองหลักของรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย และยังเป็นเมืองที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศอินเดีย (3.1 ล้านคน) ก่อตั้งเมื่อ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1727 โดยมหาราชาสวาอี ชัยสิงห์ที่ 2" เจ้าครองนครอาเมร์ (Amer) ในปัจจุบันชัยปุระยังเป็นที่รู้จักกันดีในอินเดียว่า "นครสีชมพู"เมืองแห่งนี้ขึ้นชื่อในด้านการเป็นเมืองอินเดียในยุคก่อนสมัยใหม่ ซึ่งมีขนาดความถนนค่อนข้างกว้างและผังเมืองอันเป็นระเบียบเรียบร้อยแบ่งเป็นช่องตารางจำนวน 6 เขต ซึ่งกั้นโดยถนนที่มีความกว้างกว่า 34 เมตร บริเวณใจกลางเมืองแบ่งผังเมืองเป็น
ตารางพร้อมถนนล้อมรอบสี่ด้าน โดยแบ่งเป็นห้าเขตล้อมทางด้านทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตก (เขตพระราชวัง) และเขตที่หกตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก บริเวณเขตพระราชวังประกอบด้วย หมู่พระราชมณเทียรฮาวามาฮาล (Hawa Mahal) สวนสาธารณะ และทะเลสาบขนาดเล็ก ยังมีป้อมนาฮาการ์ (Nahargarh Fort) ซึ่งเป็นที่พระราชวังที่ประทับของมหาราชาสวาอี (ชัยสิงห์ที่ 2) ตั้งอยู่บนเชิงเขาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเขตเมืองเก่า และยังมีหอดูดาวจันตาร์ มันตาร์ (Jantar Mantar) ซึ่งได้รับการคัดเลือกเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก ชัยปุระตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมทองคำของการท่องเที่ยวของอินเดียร่วมกับ เดลี และอัครา ชัยปุระเป็นเมืองที่มีการท่องเที่ยวมากที่สุดแห่งหนึ่งของรัฐราชสถานในปัจจุบันชัยปุระยุคใหม่นั้นก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1727 โดยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของมหาราชาสวาอี ชัยสิงห์ที่ 2 แห่งอาเมร์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากราชปุตราชวงศ์กาญจวาหา (Kachchwaha) ซึ่งปกครองระหว่างปีค.ศ. 1699 - ค.ศ. 1744 ซึ่งปกครองที่เมืองหลวงชื่อว่า "อาเมร์ หรือ แอมเบอร์" (Amber) ตั้งอยู่ห่างจากชัยปุระเป็นระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร โดยเหตุผลในการย้ายเมืองหลวงนั้นเนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งตามมาด้วยการขาดแคลนแหล่งน้ำที่รุนแรงมากขึ้น พระองค์ได้ทรงศึกษาตำราสถาปัตยกรรมมากมาย พร้อมทั้งที่ปรึกษาต่างๆก่อนจะทำผังเมืองของชัยปุระ ในที่สุด ด้วยความช่วยเหลือของสถาปนิกคนสำคัญคือ "วิทยาธร ภัตตาจารย์" (Vidyadhar Bhattacharya) ปราชญ์วรรณะพราหมณ์จากเบงกอล ซึ่งต่อมาได้เป็นหัวหน้าสถาปนิกของมหาราชา ซึ่งช่วยวางแผนและออกแบบอาคารต่างๆ รวมถึงพระราชวังหลวงใจกลางเมือง พร้อมทั้งกำแพงเมืองอย่างหนาแน่นที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามกับจักรวรรดิมราฐา นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นผู้ที่รักทางด้านดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ทำให้ชัยปุระนั้นเกิดขึ้นได้อย่างสำเร็จด้วยองค์ประกอบสถาปัตยกรรมตามหลักของวัสดุศาสตร์ (Vastu Shastra) และหลักจากตำราอื่นๆ การสร้างเมืองเริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปีค.ศ. 1727 ใช้เวลาการสร้างกว่า 4 ปีในการสร้างพระราชวัง ถนน และจัตุรัสต่างๆ โดยการสร้างเมืองนี้นั้นอิงจากหลักในตำราศิลปศาสตร์ (Shilpa Shastra) ซึ่งเป็นศาตร์แห่งสถาปัตยกรรมของอินเดีย โดยแบ่งผังเมืองออกเป็น 9 ส่วนเท่าๆกันอย่างตารางหมากรุก โดยสองส่วนเป็นที่ตั้งของพระราชวังต่างๆ และสถานที่ราชการต่างๆ ส่วนที่เหลืออีก 7 ส่วนนั้นสำหรับประชาชนทั่วไป รอบเมืองถูกล้อมด้วยปราการอย่างแน่นหนาโดยเข้าออกผ่านทางประตูเมืองทั้ง 7 แห่งโดยรอบ ในปีค.ศ. 1876 ในรัชสมัยของมหาราชาสวาอี ราม สิงห์ (Sawai Ram Singh) ได้มีพระบัญชาให้ทาสีอาคารบ้านเรือนต่างๆในเมืองเป็นสีชมพูเพื่อเป็นการต้อนรับเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ในคราที่เสด็จเยือนชัยปุระอย่างเป็นทางการ ซึ่งสีชมพูนั้นก็ยังคงไว้จนถึงปัจจุบันและได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นของชัยปุระจนทุกวันนี้ ต่อมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชัยปุระได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยในปีค.ศ. 1900 ประชากรทั้งหมดมีประมาณ 160,000 คน ได้มีการปูพื้นถนนด้วยปูน และยังมีโรงพยาบาลหลายแห่ง อุตสาหกรรมหลักได้แก่ โลหะ และหินอ่อน จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปีค.ศ. 2011 ชัยปุระมีประชากรทั้งหมดรวม 3,073,350 คน อาศัยในเขตเมือง 3,646,590 คน ซึ่งถือเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศอินเดีย ประชากรนับถือศาสนาฮินดู ร้อยละ 77, มุสลิม ร้อยละ 17, เชน ร้อยละ 4, คริสต์ ร้อยละ 0.5, และซิกข์ ร้อยละ 0.5 ประชากรร้อยละ 47.49 อาศัยในบริเวณนอกเมือง และร้อยละ 52.51 อยู่ในเขตเมือง อัตราการรู้หนังสือเฉลี่ยของอำเภอชัยปุระคือร้อยละ 76.44 แบ่งเป็นชายร้อยละ 87.27 และหญิงร้อยละ 64.63 ส่วนการแบ่งตามเพศนั้นชัยปุระมีจำนวนประชากรเพศหญิง 898 คน ต่อประชากรชาย 1,000 คน ภาษาหลักที่ใช้สื่อสารในชัยปุระได้แก่ ภาษาฮินดีและภาษาราชสถาน นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาปัญจาบอีกด้วย และจากรายงานในปี ค.ศ. 2009 สำนักงานอาชญากรรมแห่งชาติ (NCRB-National Crime Records Bureau) ระบุว่า ชัยปุระเป็นเมืองที่อัตราการเกิดอาชญากรรมมากเป็นอันดับที่ 3 ของเมืองในประเทศอินเดียที่มีขนาดประชากรเกินกว่า 1 ล้านคน การจราจร ทางบก ทางหลวงหมายเลข 8 เชื่อมระหว่างเดลี กับมุมไบ, ทางหลวงหมายเลข 12 เชื่อมระหว่างเมืองโกตา อำเภอบาราน และทางหลวงหมายเลข 11 ซึ่งเชื่อมระหว่างบิคาแนร์ กับอัครา โดยผ่านที่ชัยปุระ โดยมีความยาวรวมทั้งสิ้น 366 กิโลเมตร บริษัท Rajasthan State Road Transport Corporation (RSRTC) เป็นผู้ดูแลการเดินรถประจำทางระหว่างเมืองระหว่างรัฐราชสถาน กับนิวเดลี, รัฐอุตตรประเทศ, รัฐมัธยประเทศ, รัฐหรยาณา และรัฐคุชราต รถประจำทาง รถประจำทางภายในเมือง (City bus) นั้นให้บริการโดย Jaipur City Transport Services Limited (JCTSL) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Rajasthan State Road Transport Corporation (RSRTC) ซึ่งเป็นหนึ่งของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นในกรอบความร่วมมือ "Jawaharlal Nehru National Urban Renewal Mission" หรือ (JnNURM) โดยให้บริการรถประจำทางมากกว่า 300 คัน โดยมีสถานีหลักจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ สถานี Vaishali Nagar, สถานี Vidyadhar Nagar และสถานี Sanganer รถประจำทางด่วนพิเศษ (BRTS) โครงการ BRTS หรือ Bus Rapid Transit Service ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2006 โดยให้ Jaipur City Transport Services Limited (JCTSL) เป็นผู้รับสัมปทานการบริหารการเดินรถ ทางอากาศ สนามบินนานาชาติชัยปุระ (Jaipur International Airport) ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร ซึ่งให้บริการทั้งสายการบินภายในประเทศ และนานาชาติ โดยแบ่งเป็นเทอร์มินัล 1 ใช้สำหรับสายการบินระหว่างประเทศ และในประเทศ ในขณะที่เทอร์มินัล 2 นั้นใช้สำหรับสายการบินภายในประเทศเท่านั้น ในปัจจุบันอาคารเทอร์มินัล 1 นั้นปิดให้บริการเนื่องจากอยู่ในระหว่างโครงการปรับปรุง โดยใช้เทอร์มินัล 2 แทนอย่างเต็มรูปแบบ ในปีค.ศ. 2009 - 2010 สนามบินนานาชาติชัยปุระต้อนรับนักท่องเที่ยวแบ่งเป็นต่างประเทศจำนวน 255,704 คน และทั้งหมด 1,267,876 คน ในฤดูหนาวสนามบินแห่งนี้มักเป็นสนามบินสำรองที่ใช้รับเครื่องบินจากสนามบินนานาชาติอินทิรา คานธี เนื่องจากมักจะมีหมอกลงค่อนข้างหนาเป็นประจำในเดลี ทางรถไฟ ชัยปุระนั้นสามารถเดินทางได้โดยมีรถไฟหลายสายที่เชื่อมต่อกับกรุงเดลี และอีกหลายๆเมืองในรัฐราชสถาน รถไฟใต้ดิน โครงข่ายรถไฟใต้ดินของชัยปุระนั้นในปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง โดยมีแผนจะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2013 โดยมีชื่อเรียกว่า "ชัยปุระ เมโทร" (Jaipur Metro) โดยระบบรถไฟใต้ดินของชัยปุระนี้ถือเป็นแห่งที่ 4 ของประเทศอินเดีย ภายหลังโกลกาตา เดลี และบังกาลอร์ ประกอบด้วยทางรถไฟใต้ดินทั้งหมด 2 สาย มีความยาวรวมทั้งสิ้น 32.5 กิโลเมตร จำนวน 29 สถานี











video



ที่มา https://web.facebook.com/pg/%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81-1007315082642957/photos/?tab=album&album_id=1164737406900723
ที่มา https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/f7/Jaipur_03-2016_02_Amber_Fort.jpg/1024px-Jaipur_03-2016_02_Amber_Fort.jpg
ที่มา https://f.ptcdn.info/2g/168/000/000/E13112992-32.jpg
ที่มา http://www.tropicalisland.de/india/rajasthan/jaipur/images/JAI%20Jaipur%20-%20Amber%20Fort-Palace%20shielded%20windows%20of%20the%20zenana%20womens%20apartments%20in%20the%20fourth%20courtyard%203008x2000.jpg
ที่มา http://www.tropicalisland.de/india/rajasthan/jaipur/images/JAI%20Jaipur%20-%20Amber%20Fort-Palace%20Jai%20Mandir%20Hall%20of%20Victory%20noted%20for%20its%20inlaid%20panels%20and%20glittering%20mirror%20ceiling%203008x2000.jpg
ที่มา http://www.tropicalisland.de/india/rajasthan/jaipur/images/JAI%20Jaipur%20-%20Amber%20Fort-Palace%20main%20gate%20of%20the%20outer%20courtyard%20with%20elephant%203008x2000.jpg
ที่มา http://galenf.com/india/roadtojaipur279.jpg
ที่มา http://galenf.com/india/roadtojaipur285.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แปงกอง ทะเลสาบแห่งฝันและศรัทธา

แ ป ง ก อ ง ...ทะเลสาบแห่งฝันและศรัทธา เป็นสถานที่ ที่มีทัศนียภาพของสองฤดูที่มีความสวยงามที่แตกต่างกันไป อยากรู้ว่าสวยงามขนาดไหน ทำ...