วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ถ้ำเอลโลร่า ( Ellora Caves)

ถ้ำเอลโลร่า 

( Ellora Caves)

ศาสนสถานของอินเดียแต่ละที่ถือว่ายังสมบูรณ์ และแข็งแรงเป็นอย่างมาก แต่ละที่มีเสน่ห์ และน่าดึงดูด ชวนอยากสัมผัส ไม่แพ้ศาสนสถานของประเทศไทยเราเลยทีเดียวแหละ
ในอดีตสิ่งที่ยิ่งใหญ่มักเกิดจากพลังความเชื่อและศรัทธาทางศาสนา ถ้ำเอลโลรามหาวิหารถือว่าเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่ไม่น่าเชื่อว่าเป็นฝีมือของมนุษย์เราเองล้วนๆ ซึ่งเกิดจากพลังศรัทธาของทั้งสามศาสนาคือศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดูและศาสนาเชนซึ่งมีความแตกต่างทางความเชื่อคนละอย่างและใช้เพียงเครื่องมือธรรมดาเท่าที่จะหาได้เจาะภูเขาทั้งลูกให้กลายเป็นวิหารหรือสิ่งเคารพสักการะของศาสนาซึ่งมีอายุพันกว่าปีมาแล้วและยังปรากฎหลักฐานให้เห็นมาจนถึงปัจจุบันนี้
      หลักจากที่ดิฉันได้มีโอกาสไปทัศนศึกษาในโครงการศึกษาดูงานพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมในประเทศอินเดีย ณ ถ้ำอชันตา-เอลโลร่า แดนพุทธมรดกโลก ของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาพระพุทธศาสนา รุ่นที่1  ในช่วงวันที่ 25-29 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น วันนี้ดิฉันจะพาทุกท่านไปเยี่ยมชมถ้ำเอลโลร่าซึ่งมีความมหัศจรรย์และสวยงามไม่แพ้ถ้ำอชันตาเลยค่ะ
ถ้ำเอลโลร่า ( Ellora Caves) หรือเรียกตามภาษาท้องถิ่น( ภาษามราฐี ซึ่งเป็นภาษาราชการ ในรัฐมหาราษฎร์) ว่า “ เวรุฬเลณี ” เป็นชื่อของกลุ่มถ้ำจำนวน 34 ถ้ำของศาสนาสำคัญของอินเดีย 3 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ  ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู และศาสนาเชน ในบรรดาถ้ำ 34 ถ้ำนั้น ถ้ำที่  1-12 เป็นถ้ำเก่าแก่ที่สุดคือเป็นถ้ำของศาสนาพุทธนิกายมหายานสร้างโดยชาวพุทธมหายานของอินเดียประมาณ พ.ศ.1093 – 1293 ( 550 – 750 ค.ศ.) 
      ถ้ำเอลโลร่า  ตั้งอยู่เชิงเขาแห่งเทือกเขาจารานานทรี แต่ละถ้ำทอดยาวตามแนวแห่งจากเหนือจรดใต้ เป็นถ้ำที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์โดยเจาะภูเขาหินทั้งลูกจนกลายเป็นถ้ำมีความยาวจากทิศใต้ไปทาง

เหนือประมาณ 2 ก.ม.เศษ  ถ้ำเอลโลร่าอยู่ในรัฐมหาราช ซึ่งมีเมืองมุมไบหรือบอมเบยเป็นเมืองหลวง อยู่ห่างจากเมืองมุมไบประมาณ400 ก.ม.เศษ และห่างจากเมืองออรังคาบาดประมาณ  27 กิโลเมตร

    ถ้ำเอลโลร่า  ไม่เหมือนถ้ำอชันตาเพราะเป็นที่รู้จักกันมานาน ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูมักไปกราบไหว้สักการะเป็นประจำตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไม่เคยถูกทอดทิ้งเพราะอยู่ใกล้ตัวเมืองและเส้นทางการท่องเที่ยวซึ่งเป็นย่านชุมชน ในขณะที่ถ้ำอชันตาถูกทอดทิ้งมาเป็นเวลาร่วมนาน 1,000 ปี ตามพุทธศาสนาที่เสื่อมถอยไปจากประเทศอินเดีย จนเพิ่งถูกค้นพบและเป็นที่รู้จักเมื่อ พ.ศ.2362 ( ค.ศ. 1819) นี้เอง
      ถ้ำเอลโลร่านี้เป็นถ้ำของฝ่ายมหายานอันเป็นพุทธศาสนาในยุคหลัง  ดังนั้นเมื่อมีการแกะสลักพระพุทธรูปจะต้องมีรูปสลักพระพุทธรูปจะต้องมีรูปสลักของพระโพธิสัตว์ยืนอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาเป็นบริวารตามคติมหายาน แทนอัครสาวกซ้ายขวาคือพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร จึงมีพระ
โพธิสัตว์มากที่สุด คือ รูปแกะสลักพระศรีอริยเมตไตยโพธิสัตว์ มี 26 รูป ที่ถ้ำพุทธเบอร์2 มี 2 รูป ,เบอร์ 4 มี 2 รูป ,เบอร์ 5 มี 12 รูป, เบอร์ 6 มี 3 รูป, เบอร์ 8 มี 3 รูป ,เบอร์ 10 มี2 รูป ,เบอร์ 11 มี 6 รูป และเบอร์ 12 มี 7 รูป ส่วนรูปพระอวโลกิเตศวรมีมากที่สุดถึง 110 รูป และรูปพระมัญชุลีศรีโพธิสัตว์อีก 32 รูป ( รูปหินแกะสลัก)
     ถ้ำเอลโลร่าได้ถูกยกเป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโกในปี พ.ศ.2526 ( 1983) ปีเดียวกันพร้อมกับถ้ำอชันตา

ถ้ำเอลโลร่า เป็นถ้ำของสามศาสนา คือ

1.ถ้ำพระพุทธศาสนานิกายมหายาน  ตั้งแต่ถ้ำที่ 1-12 แบ่งเป็นถ้ำวิหาร 11 ถ้ำและถ้ำเจดีย์ (( ไจตยะ) อีก 1 ถ้ำคือถ้ำที่ 10 ( ถ้ำวิศวกรรม)  ถ้ำเก่าแก่ที่สุด เป็นถ้ำของศาสนาพุทธ ( นิกายมหายาน สร้างโดยชาวพุทธมหายานของอินเดีย ประมาณ 1093 – 1293 หรือ ค.ศ.550-750 )

2.ถ้ำศาสนาฮินดู มี 17 ถ้ำตั้งแต่ 13 – 29 ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างถ้ำศาสนาพุทธกับศาสนาเชน สร้างขึ้นราว พ.ศ.1100 – 1300 ( ค.ศ.600 – 875 ) ในบรรดา 17 ถ้ำของฮินดู  ถ้ำที่ 16 มีชื่อว่า “ ไกลาศ ” เป็นถ้ำที่สำคัญที่สุดและอาจถือได้ว่าเป็นถ้ำที่สำคัญของเอลโลร่าทั้งหมด เพราะมีถ้ำไกรลาศเพียงแห่งเดียวที่มีการซื้อบัตรเข้าชม ส่วนถ้ำอื่นๆเปิดให้เข้าชมฟรีทั้งหมดค่ะ
3.ถ้ำศาสนาเชน มีทั้งหมด  5 ถ้ำ ตั้งแต่ 30 – 34 เป็นของศาสนาเชนนิกายทิคัมพร ( นิกายพระเปลือยกาย) ค่ะ

สรุปถ้ำเอลโลร่า

ถ้ำพุทธศาสนา  ถ้ำที่ 1-12 จำนวน 12 ถ้ำ
ถ้ำพุทธที่เป็นพุทธศาสนานิกายมหายาน แบ่งเป็นถ้ำวิหาร 11 ถ้ำและถ้ำเจดีย์ (( ไจตยะ) อีก 1 ถ้ำคือถ้ำที่ 10 ( ถ้ำวิศวกรรม)
ถ้ำที่เก่าแก่ที่สุด  ถ้ำที่2
ถ้ำที่กว้างที่สุด  ถ้ำที่5
ถ้ำศาสนาฮินดู  ถ้ำที่ 13-29 จำนวน 17 ถ้ำ ถ้ำที่16 มีชื่อว่าถ้ำไกลาศ เป็นถ้ำที่สำคัญที่สุด และถ้ำที่สำคัญที่สุด และถ้ำที่ 29 เป็นถ้ำที่กว้างใหญ่ที่สุด
ถ้ำศาสนาเชน  ถ้ำที่ 30 -34 จำนวน 5 ถ้ำ ถ้ำที่ 32 สำคัญที่สุด
เวลาเปิดทำการ
ถ้ำเอลโลร่าจะเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 6 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น  ยกเว้นวันอังคาร
อัตราค่าเข้าชม
เฉพาะถ้ำที่16 ( ไกลาส) ชาวอินเดีย 10 รูปี ชาวต่างประเทศ 250 รูปี เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีไม่ต้องเสียค่าผ่านประตู
หากท่านใดได้เดินทางไปประเทศอินเดีย   ก้ออย่าลืมหาโอกาสไปเยี่ยมชม ถ้ำเอลโลร่า พุทธมรดกโลกแห่งนี้นะคะ เพราะถือเป็นของขวัญที่ล้ำค่าสำหรัญชีวิตจริงๆค่ะ   บ๊าย บาย พบกันใหม่ทริปหน้าจะพาไปเยี่ยมชาวพุทธใหม่ ที่ัหันมานับถือศาสนาพุทธตามดร.อัมเบดก้า นะคะ


#รวยรูปค้ะ
****



































video


ที่มา https://www.gotoknow.org/posts/543817
ที่มา https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj74EO6rGNT5jkQOgKu5vWAb-rJxOnM-_ILic3cO7snkh2wNa51q4j73uOtRbClbP9xpghMLbR3WnUZV1VMcUTF4m5lzcJ2FYcJr8uRv4SVb6Sm2eW-DPaZZERiQ3XCoAvy6iLLF01DBXw/s1600/e7.jpg
ที่มา https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgtGMWp6JqpjH3CzcbtPHeDVjT6hBxY88yYyBoieuMZD6_blST35Xyx3CJLm3sPzAYbz5SPR8_LaU-ZxH6BdilRUNTxOpMrAXyB8SYLjK3BYK1lrpQu5UcCwPMnyj3DjWioF_fNtyN9rrY/s1600/e8.jpg
ที่มา https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgmRRfJ0BXoLbAhGoYhdW-5G6h5e1moltxtm34rJtPqw1UHS84I8kk66u5Cj2jIS1dCE_O5a07-RWrfNctKhx7qbk4b7JG3Gh7-zoq2uyaqV_25cuYQyLJSgkuSRhoumDJbFu5wH6bKtgY/s1600/e9.jpg
ที่มา https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEggIOgV6wU5_7ZX3bwcA2C5aT-FZTZVaGoJIEmP3Iapkfw6YLCmUty_dbsr_kfrGb6DkL9SSwfw5LP_iWj29BM45I0PJS8lAln2EyVJ364Za4NF6uOYFIvD9mSfVQIlxoUey2qwD41BWuM/s1600/e17.jpg
ที่มา https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgPjzxVr9y2mZ9zb_4T5xy5blC956tZ9Cyd-gnlyOfAvZ3RhH9urBzUtfgTOuqEKg2cEmpw7ctzlD9rOGt_lp54ZkmKWVUcdo7mJGcW8rJ6tlEfZIQ2CqvStwMjpIFLF8iyYcbPzP8Wvqw/s1600/12227628_10208085387350859_8826045385023685811_n.jpg
ที่มา https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg5i35UIf38Lps2625zmekz58MVYkUouiz4L5fHb23g3ZRhXIrHrt2TG0HqBRd4jUj37itDOKVfkwxwtxplWYOrsS57PIn5ZveL6fq2r5mwwASvjK6BU6e2soyHPC7sqE_UfcDX9nZtQhA/s1600/e19.jpg
ที่มา https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgK0bXWjOR8_El4-JWdxn248Cdke3rRkuOYToSamJeUztVov7_sbqBt8m5LuYG65EGO9lNL1QvQKd5H2fjTSXe9xt3bFj_ijWTiWbPogIalla4gC-FrLdi0q79Nyx451rJqtv2bNR8wZ0Y/s1600/e13.jpg
ที่มา https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhCD0eO93maLsvWcAOyZ61gv2-9KUwfMgWAXAn2yEbdZhsykBJ6bJetIYF79XVaDbEF6rmwU8yaNhFMwZWzlCi1SxBTRYukETmz1P2OzJz-Er-tw_Vpp-MB4HAF-yaZxt-P6WcbGxk3vPU/s1600/e4.jpg
ที่มา https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiDkftwjJ02YCLdOhywLD8Vmgazsl2zJP-1p2QzaAjCpImu9Gtc2zv9EE0AC5Oqm6Rt4rbZM5AgM25-3DJxiBtVErgPc3Ze8b-k4GQ84g9GnSJlllEkyBmkXngaXTqiJuS8CAy-ryv5rSM/s1600/e6.jpg
ที่มา https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEicGXpBBkxWTtb0y8C_Jkdvv10JNJk6q_n6DDbwOzFBwZoQaJ1h5MF9B5laP5R6HMT1INuKdfGut4EyBea0ZCe-yVKVT7EhnPsK2zRTtR28lArJpfkSACpH2cPnlnxB_2ALNsP2lPuW_sQ/s1600/11220923_10208085386750844_3455502627316207151_n.jpg
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201609/11/8673feb2.jpg
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201609/11/8673fc68.jpg
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201609/11/867346bf.jpg
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201609/11/867344ae.jpg
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201609/11/867343c7.jpg
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201609/11/8673d4e7.jpg
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201609/11/867357a0.jpg
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201609/11/86736a69.jpg
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201609/11/8673706a.jpg
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201609/11/867312bc.jpg
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201609/11/867305aa.jpg
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201609/11/86732e3f.jpg
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201609/11/8673dad9.jpg
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201609/11/8673fc68.jpg
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201609/11/867359cc.jpg
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201609/11/86730d2c.jpg
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201609/11/8673942c.jpg
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201609/11/867359cc.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แปงกอง ทะเลสาบแห่งฝันและศรัทธา

แ ป ง ก อ ง ...ทะเลสาบแห่งฝันและศรัทธา เป็นสถานที่ ที่มีทัศนียภาพของสองฤดูที่มีความสวยงามที่แตกต่างกันไป อยากรู้ว่าสวยงามขนาดไหน ทำ...