วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เทศกาลโฮลี

ห่สีสั

































บล็อกนี้เน้นภาพนะจ๊ะ แต่ละภาพอย่างจ๊าปจ้าา เทศกาลโฮลี เป็นเทศกาลที่มีเสน่ห์ น่าดึงดูดมากที่สุดในประเทศอินเดีย ไม่ว่าใครๆก็ต้องรู้จักเทศกาลนี้เลยทีเดียว  คำเตือนระวังเมากับการจัดเรียงภาพ 

โฮลี (Holi) ไม่ใช่เป็นเพียงเทศกาลแห่งสีสันและความรื่นเริง หากแฝงไว้ซึ่งความหมายทางจิตวิญญาณและความเสมอภาค เมื่อสีสันสดใสช่วยอำพรางชนชั้นวรรณะและความขุ่นข้องหมองใจ แม้เพียงชั่วคราวก็ตาม ที่เมืองบรสนาและนันทคามใน รัฐอุตตรประเทศ ผู้คนเฉลิมฉลองลัฏฐมารโฮลีก่อนถิ่นอื่นๆ หนึ่งสัปดาห์

งฝุ่สีสั 

กระจายทั่วผืนฟ้า มีวัดฮินดูเป็นฉากหลัง มีผู้คนตัวเปื้อนสีเรือนพันเป็นฉากหน้า ดูช่างสวยงามปนน่าอัศจรรย์ต่อผู้พบเห็น บรรยากาศที่ผู้คนออกมาเล่นสาดผงสีใส่กันอย่างสนุกสนานนี้เกิดขึ้นทุกปีในเทศกาลโฮลี (Holi หรือ “โหลี”) หรือเทศกาลแห่งสีสันที่ฉลองกันทั่วประเทศอินเดียและยังมีการเฉลิมฉลองในที่อื่น เช่น ประเทศที่มีชุมชนชาวอินเดียขนาดใหญ่อย่าง สหราชอาณาจักร แคนาดา สหรัฐอเมริกา แม้แต่ประเทศเล็กๆ อย่างมอริเชียสด้วย

ตามปฏิทินวิกรมสัมวัตซึ่งเป็นปฏิทินทางจันทรคติและสุริยคติของศาสนาฮินดู วันโฮลีจะตกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือเดือนมีนาคมของแต่ละปีตามปฏิทินสากล  ตามการคำนวณปฏิทินแบบศาสนาฮินดูนั้น วันโฮลีจะเป็นคืนพระจันทร์เต็มดวงสุดท้ายของฤดูหนาว
 เทศกาลโฮลีจึงเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าฤดูหนาวที่หนาวเหน็บกำลังจะสิ้นสุดลง และวสันตฤดู ซึ่งเป็นฤดูกาลแห่งการเพาะปลูกกำลังเริ่มต้นขึ้น  บางตำราก็ว่าเป็น ฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งสอดคล้องกับการละเล่นสาดสีใส่กัน อันเป็นสัญลักษณ์ของดอกไม้นานาพันธุ์ที่เริ่มผลิบานสร้างความสดใส





ผงสีวางขายในเมืองชัยปุระ รัฐราชสถาน ก่อนถึงเทศกาลโฮลี ในอดีตนิยมใช้ผงสีที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ เปลือกและรากไม้ ปัจจุบัน ผงสีส่วนใหญ่เป็นสารสังเคราะห์ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังและดวงตา

แม้ไม่มีใครล่วงรู้ชัดว่าการเล่นโฮลีเริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อใด แต่มีการกล่าวถึงเทศกาลโฮลีตั้งแต่ศตวรรษที่สี่ ในคัมภีร์ปุราณะ ซึ่งเป็นตำรารวบรวมความรู้ของชาวฮินดูโบราณเกี่ยวกับการกำเนิดเทพเจ้า ปรัชญา ประวัติศาสตร์ และดำเนินเรื่องด้วยเทพสามองค์ คือพระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ ศาสนาฮินดูมีแก่นสำคัญประการหนึ่งที่มักปรากฏในตำนานต่างๆ นั่นคือ “ธรรมะย่อมชนะอธรรม” เช่นในมหากาพย์รามายณะก็มีพระรามเป็นตัวแทนของความดีกับยักษ์ทศกัณฐ์เป็นตัวแทนแห่งความชั่ว และบทสรุปก็มักจะลงเอยตรงที่คนชั่วถูกคนดีสังหาร หรือถูกเทพเจ้า (ซึ่งก็เป็นตัวแทนของความดีอีกเช่นกัน) ลงโทษ  ความเชื่อนี้สะท้อนออกมาในงานเทศกาลต่างๆ เช่นโฮลีด้วย

ในคืนวันก่อนวันที่เล่นสาดสีกันนั้น ชาวอินเดียจะจัดพิธีกรรมชื่อว่า “โฮลิกาดาฮัน” (Holika Dahan หรือ “โหลิกาทหนะ”) แปลตรงๆ ได้ว่าพิธีเผานางโฮลิกา (หรือนางโหลิกา) ซึ่งเอกตา ราย ชาวฮินดูวรรณะพราหมณ์ผู้เคร่งครัดเล่าให้ฉันฟังว่า “เทศกาลโฮลีเป็นเทศกาลที่ระลึกถึงการที่ความดีชนะความชั่ว ในวันก่อนวันสาดสี ชาวอินเดียจะเตรียมสุมกองไฟในบริเวณใกล้ๆ วัดฮินดูเพื่อจำลองการเผานางโฮลิกา ซึ่งเป็นปีศาจร้ายในตำนานที่ถูกเพลิงเผาตายเพราะคิดร้ายกับผู้อื่น  ชาวฮินดูบางกลุ่มจะสวดภาวนารอบกองไฟ  บางคนอาจจะทำทีว่าปัดฝุ่นผงจากตัวลงเข้ากองไฟเพื่อให้ไฟเผา เปรียบได้กับการเอาสิ่งไม่ดีและพลังงานลบต่างๆ ออกจากร่างกายของเราค่ะ”




ใน “ลัฏฐมารโฮลี” หรือเทศกาลแห่งไม้และสีสัน หนุ่มๆ จากนันทคามพากันมาหาสาวๆ ที่บรสนา ก่อนถูกสาดสีใส่และตีด้วยไม้ หรือ “ลัฏฐ” หากหนุ่มคนใดถูกสาวจับได้ จะต้องสวมใส่เสื้อผ้าผู้หญิงและเต้นรำในที่สาธารณะ

มื่คืห่พิธีลิ ผ่านพ้นไป วันรุ่งขึ้นเป็นวันเล่นสาดสีเรียกว่า “วันธุลันดี” (Dhulandi หรือ “ธุลันฐี”) ตามขนบธรรมเนียมดั้งเดิม ชาวอินเดียจะตื่นแต่เช้ามาสวดมนต์ในวัดฮินดูและถวายผงสีชนิดต่างๆ แก่เทพฮินดูที่ตนนับถือ ส่วนใหญ่เป็นพระวิษณุหรือพระกฤษณะกับพระนางราธา ซึ่งล้วนเป็นเทพที่เกี่ยวข้องกับตำนานโฮลี  จากนั้นจึงกลับบ้านมาขอพรจากบุพการี  หนุมันต์ ภารทวาช ครูสอนโยคะผู้ศึกษาศาสตร์ของโยคะและปรัชญาฮินดู  บอกว่า  “ชาวอินเดียอาจฉลองเทศกาลโฮลีแตกต่างกันไป  สำหรับผมจะตื่นเช้าไปวัดเพื่อสวดมนต์และบูชาเทพเจ้า จากนั้นจะกลับมาขอพรพ่อแม่ โดยใช้ผงสีแตะที่หัวแม่เท้าของท่านและขอพร แล้วค่อยเปลี่ยนเสื้อเป็นชุดใหม่สีขาว ออกไปเล่นสาดสีกับครอบครัวและเพื่อนฝูงครับ”



# คือฝรั่งหล่อมากเว้ยย 😍😍
👇







ที่มา http://ngthai.com/cultures/10026/the-story-of-holi-festival/ที่มา https://www.winnews.tv/news/22642
ที่มา https://pawarinxcix.wordpress.com/2015/06/08/holi-festival-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99/
ที่มา https://pantip.com/topic/37414274
ที่มา https://pantip.com/topic/31900957
ที่มา https://pawarinxcix.files.wordpress.com/2015/06/2.jpg
ที่มา http://img.tlcdn4.com/travel/2016/02/Holi-Festival-2.jpg
ที่มา https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRPlK9lN1ncToY0R-n3rlTcqrG7ks0XwXL-5i0M3eD3lEifOs9N
ที่มา https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRbyVq2KAiiROiqICK-9dhy2zbZ3m3L04Z1bRamGHzDM24KnWiJ
ที่มา https://cms.dmpcdn.com/travel/2016/03/23/b22d4397-5676-4895-87d7-84c9b72e7f38.jpg
ที่มา https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ1iMl-FSKElpKS1eeSSJoh7tl7WNiXjiMglrzLkS9GmGYqautUkA
ที่มา https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh22HPYRTkzmgLJbGTs3d7bL_qV-QQSUlFNMdJofab4wsyvbkmEPiRDHqhDL7sBsfJH7NLHyI7CV-OgPqFDzuBbGAmFhC_OkhfYKY2U8PtiJbEZsBzXiKgXyx1Rwoq5pfapbu0iEhAHivQ/s1600/HoliFestival.jpg
ที่มา https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiHqJODcOqUJmfRTogXjwnHbijnIBO_FVNHlmEsAXg4beZQSyIDY9dmT6H9lpG_RYeI9NdeLM4RrlpQTNflpnfEhufJ1luZ433PZdX798clEycbyaIqS1ft2REcnQZBzmqW8yz0_FcAdFaK/s1600/832215.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แปงกอง ทะเลสาบแห่งฝันและศรัทธา

แ ป ง ก อ ง ...ทะเลสาบแห่งฝันและศรัทธา เป็นสถานที่ ที่มีทัศนียภาพของสองฤดูที่มีความสวยงามที่แตกต่างกันไป อยากรู้ว่าสวยงามขนาดไหน ทำ...